ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำ ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ไห้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกำหนดคณะ ครุลหุ และสัมผัสไว้ เป็นมาตรฐาน
ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต โดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลองแบบ มาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามแบบนิยมของไทย ซึ่งในภาษาเดิมของเขา หามีไม่
ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันท์มาตราพฤติ
ฉันท์ใด กำหนดด้วยตัวอักษร คือ วางคณะ และกำหนดเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญ ฉันท์นั้นเรียกว่า วรรณพฤติ
ฉันท์ใด กำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาว ของมาตราเสียง เป็นสำคัญ นับคำลหุเป็น ๑ มาตรา คำครุ นับเป็น ๒ มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร เหมือนอย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า มาตราพฤติ
ฉันท์มีชื่อต่างๆตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัยมีถึง ๑๐๘ ฉันท์ แต่ไทยเราดัดแปลง เอามาใช้ไม่หมด เลือกเอามาแต่เฉพาะที่เห็นว่าไพเราะ มีทำนองอ่านสละสลวย และเหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในภาษาไทยได้ดี เท่านั้น
ฉันท์ที่นิยมแต่งในภาษาไทย เป็นฉันท์วรรณพฤติเป็นพื้น ที่เป็นมาตราพฤติ ไม่ใคร่จะนิยมแต่ง เพราะจังหวะ และทำนองที่อ่านในภาษาไทย ไม่สู้จะไพเราะ เหมือนฉันท์วรรณพฤติ แม้ฉันท์วรรณพฤติ ที่ท่านแปลงมาเป็นแบบในภาษาไทยแล้ว ก็ไม่นิยมแต่งกันทั้งหมด เท่าที่สังเกตดู ในคำฉันท์เก่าๆ มักนิยมแต่งกันอยู่เพียง ๖ ฉันท์เท่านั้น คือ
- อินทรวิเชียรฉันท์
- โตฎกฉันท์
- โตฎกฉันท์
- วสันตดิลกฉันท์
- มาลินีฉันท์
- สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
- สัทธราฉันท์แต่ท่านมักแต่งกาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ปนไปกับฉันท์ด้วย และคงเรียกว่า คำฉันท์เหมือนกัน
เหตุที่โบราณนิยมแต่งเฉพาะ ๖ ฉันท์ คงเป็นเพราะฉันท์ทั้ง ๖ นั้น สามารถจะแต่งเป็นภาษาไทยได้ไพเราะกว่าฉันท์อื่นๆ และท่านมักนิยมเลือกฉันท์ ให้เหมาะกับบทของท้องเรื่อง เป็นตอนๆ เช่น
บทไหว้ครู นิยมใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือ สัทธราฉันท์
บทชมหรือบทคร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือ วสันตดิลกฉันท์
บทสำแดงอิทธิฤทธิ์หรืออัศจรรย์ นิยมใช้ โตฎกฉันท์ (แต่คำฉันท์เก่าๆไม่ใคร่นิยมใช้ โตฎกฉันท์)
ลักษณะบังคับของฉันท์
ฉันท์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ ๓ อย่างที่สำคัญ คือ
๑. พยางค์ ในฉันท์แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ
๑.๑ พยางค์ที่มีเสียงหนัก เรียกว่า ครุ ใช้ ั เป็นสัญลักษณ์แทน ซึ่งมีลักษณะดังนี้
- เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา รวมทั้งสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น เขา ไป ดู ปลา
- เป็นพยางค์ที่มีตัวสะกด เช่น เสือ สาง กิน หมู หมา
๑.๒ พยางค์ที่มีเสียงเบา เรียกว่า ลหุ ใช้ ุ เป็นสัญลักษณ์แทน ซึ่งมีลักษณะดังนี้
- เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น ลุ เสาะ มิ ดุ
- เป็นพยัญชนะตัวเดียว เช่น ธ ณ บ่ บ ฤ ก็
- สระอำ อนุโลมให้ใช้เป็นลหุได้
การแต่งฉันท์ ต้องบรรจุคำให้ครบ ตามจำนวนที่บ่งไว้ จะบรรจุคำให้เกินกว่ากำหนด เหมือนการแต่ง โคลง กลอน และกาพย์ ไม่ได้ เว้นไว้แต่อักษรนำ อนุญาตให้เกินได้บ้าง แต่บัดนี้ ไม่ใคร่นิยมแล้ว คำใดที่กำหนดไว้ว่า เป็นครุและลหุ จะต้องเป็น ครุและลหุจริงๆ และเป็นได้ แต่เฉพาะ ตรงที่บ่งไว้ เท่านั้น จะใช้ครุและลหุ ผิดที่ไม่ได้ คำ บ ก็ดี คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่ ก กา ก็ดี ใช้เป็นลหุได้ แต่บัดนี้คำที่ประสมด้วยสระอำ ไม่ใคร่นิยมใช้ เพราะถือว่า เป็นเสียงที่มีตัวสะกดแฝงอยู่ด้วย
อีกย่างหนึ่ง คำที่มี ๒ พยางค์ ที่เป็นอักษรนำ เช่น ขโมย สบาย สบถ ตลาด เสมือน สวรรค์ สถาน จะนับเป็น ๑ พยางค์ คือนับเป็นครุ หรือจะนับเป็น ๒ พยางค์ คือมี ลหุ กับ ครุ ก็ได้
๒. คณะ คณะในลักษณะบังคับของฉันท์ หมายถึง ลักษณะการเรียงกันของเสียง ครู ลหุ กลุ่มละ ๓ เสียง รวมกันเป็น ๑ คณะ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๘ คณะดังนี้
มะ คณะ มาจาก มารุต หมายถึง ลม ประกอบด้วย ครู ๓ เสียงเรียงกัน ดังนี้ ั ั ั
นะ คณะ มาจาก นรา หมายถึง ฟ้า ประกอบด้วย ลหุ ๓ เสียงเรียงกัน ดังนี้ ุ ุ ุ
ภะ คณะ มาจาก ภูมิ หมายถึง ดิน ประกอบด้วย ครุ ลหุ ลหุ ดังนี้ ั ุ ุ
ยะ คณะ มาจาก ยชมาน หมายถึง พราหมณ์ผู้บูชายัญ ประกอบด้วย ลหุ ครุ ครุ ดังนี้ ุ ั ั
ชะ คณะ มาจาก ชลน หมายถึง ไฟ ประกอบด้วย ลหุ ครุ ลหุ ดังนี้ ุ ั ุ
ระ คณะ มาจาก รวิ หมายถึง พระอาทิตย์ ประกอบด้วย ครุ ลหุ ครุ ดังนี้ ั ุ ั
สะ คณะ มาจาก โสม หมายถึง พระจันทร์ ประกอบด้วย ลหุ ลหุ ครุ ดังนี้ ุ ุ ั
ตะ คณะ มาจาก โตย หมายถึง น้ำ ประกอบด้วย ครุ ครุ ลหุ ดังนี้ ั ั ุ
๓. สัมผัส สัมผัสเป็นส่วนที่กวีไทยเพิ่มเติมขึ้น เพื่อปรับปรุงฉันท์ให้เข้ากับร้อยกรองไทย โดยแบ่งได้เป็น ๓ แบบด้วยกันคือ
๑. สัมผัสแบบกาพย์ คือ ไม่มีสัมผัสระห่างวรรคที่ ๓ กับวรรคที่ ๔ ซึ่งฉันท์ส่วนใหญ่จะส่งสัมผัสแบบนี้
๒. สัมผัสแบบกลอนสังขลิก คือ ไม่สัมผัสระหว่างวรรคสุดท้ายของบทแรกกับวรรคที่สองของบทต่อไป ฉันที่ส่งแบบนี้ได้แก่ฉันท์บทละ ๓ วรรค
๓. สัมผัสแบบกลอนสุภาพ คือ มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรคทุกวรรค และระหว่างบทด้วย
อิงอ้างข้อมูลจาก : หนังสือลักษณะคำประพันธ์ไทย(ฉันลักษณ์)
โดย รศ.วิเชียร เกษประทุม(พ.ม., ศศ.บ., ค.ม.)
ฉันท์ทั้ง ๒๕ ชนิด มีชื่อ และลักษณะต่างๆ กัน ดังจะได้อธิบาย ต่อไปนี้
๑.จิตรปทาฉันท์ ๘
| โอ้มนเรา
ยามวิปโยค
อกระอุร้อน
ทุกขะทวี
เคยปะระรื่น
กับวรมิตร
แนบนุชนาฏ
ร่วมรสสม | ประลุเศร้าโศก
นุชนารี
เพราะจะจรศรี
อุระตรอมตรม
สุขชื่นจิต
นิจนิยม
บมิคลาดชม
ฤดิปรีดา |
๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘
แรมทางกลางเถื่อน
หนึ่งใดนึกดู
หลายวันถั่นล่วง
นามเวสาลี
ผูกไมตรีจิต
กับหมู่ชาวเมือง
เล่าเรื่องเคืองขุ่น
จำเป็นมาใน
เขาแสนสมเพช
| ห่างเพื่อนหาผู้
เห็นใครไป่มี
เมืองหลวงธานี
ดุ่มเดาเข้าไป
เชิงชิดชอบเชื่อง
ฉันอัชฌาสัย
ว้าวุ่นวายใจ
ด้าวต่างแดนตน
สังเกตอาการ
|
๓. มาณวกฉันท์ ๘
| ปางศิวะเจ้า
บรรพตศานต์
ลาสรโห
ทราบมนใน
ทวย ธ กระทำ
อัศวเมธ
เคลื่อนวรองค์
สู่พรพิธี | เนา ณ พิมาน
โสภณไกร
โอ่หฤทัย
กิจพิธี
กรรมพิเศษ
ปูชยพลี
ลงปฐพี
สาทรกรรม |
๔. ปมาณิกฉันท์ ๘
| มะกอกมะกก
มะกล่ำมะเกลือ
พินิศพินัศ
เสลาไศล
ขจิตขจี
ระทดระทม
วิเศษวิศิษฏ์
มิแผ้วมิพาน | รุฬ์รกมะเขือ
มะเฟืองมะไฟ
ระบัดระใบ
ละลิ่วละลาน
ฤดีระดม
ก็ศูนย์ก็ศานต์
สฤษฏ์สราญ
กะหมองกะมัว |
๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
ราตรีระดะดาว
ผ่องผ่าวระพิพรรณ
สายลมปะทะกาย
ถึงคราวมละงาน
นั่งมองนภภาพ
ภาพเลือนสละไป
ชีวิตก็ฉะนั้น
กอบกรรมและก็คง | ระอุคราว ณ คิมหันต์
มนค่อยเสบยบาย
ก็สบายเกษมศานต์
บมิห่วงอะไรใคร
ก็วะวาบวิเวกใจ
บมิมีสภาพคง
ระยะสั้นสสายลง
เจอะอบายวิบัติผล |
๖. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ธมฺ โม หเว รกฺ –
ชนใดหทัยอิง
ซื่อสัตย์วิรัติชั้ว
เว้นทิฏฐิสารัม
พร้อมกายวจีจิต
ธรรมแลจะคุ้มครอง
ให้ปราชญ์นิราศทุกข์
หลักฐานสถาพร
ธรรมแลจะแผ่กัน
ตกต่ำถลำจน
ฉตฺตํ มหนฺตํ
เหมือนเมื่อวสันต์เท
ร่มใหญ่ผิกางกั้น
ธรรมดุจร่มหมาย
เหตุนี้ประชาชาติ
ยึดธรรมประจำชี | ขติ ธมฺมจารึ สติยึดประพฤติธรรม
บมิกลั้ว ณ บาปกรรม
ภกิเลสและโทษผยอง
สุจริตพินิจตรอง
นรนั้นนิรันดร
ประลุสุขสโมสร
ธุระกอบก็เกิดผล
และก็กันมิให้ตน
เจอะอบายวิบัติเขว
วิย วสฺสกาเล
ชลหลั่งถะถั่งสาย
จะประกันมิเปียกกาย
เฉพราะธรรมจารี
ละประมาทประพฤติดี
วิตเถิดประเสริฐแล |
๗. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
| พระพุทธเจ้าผู้
มหาธิคุณอัน
พระเกิดตระกูลขัต
ณ เดือนพิศาขปู
ละราชบิดร
ประกอบกุศลสรรพ์
ก็ตรัสรู้เสร็จ
แนะธรรมบรรยาย
อสีติชนม์ครบ
วิศาขมาสตอน
ประสูติและนิพพาน
และตรัสรู้แจ้ง | วรครูประเสริฐครัน
อดิบารมีฟู
ติยะรัฐดำรู
รณมีพิสุทธิ์พรรณ
บทจร ณ ไพรวัน
ลุวิโมกข์วิมุติหมาย
พระเสด็จแสดงกาย
อนุศาสน์ประชากร
จะประสบนิพานจร
ดิถีเพ็ญพิไลแสง
เฉพาะกาลพิเศษแสดง
ณ วิศาขมาสเพ็ญ |
๘. อุปชาติฉันท์ ๑๑
| แน่ะไทยจะไร้ชาติ
เกียจคร้านละงานเอา
ปล่อยชาววิเทศถั่ง
และกอบประโยชน์ผล
อุสาหกรรมสร้าง
แทรกแน่น ณ แผ่นดิน
ท่วมไทยเพราะไทยท้อ
เถอะนานจะบรรลัย | เพราะประมาทและมัวเมา
สุขเพียงเฉพาะตน
จรหลั่งธราดล
อุปโภคทรัพย์สิน
ธุระต่างก็จงจินต์
ดุจธารนทีไหล
บ่มิก่อประโยชน์ใด
และจะสิ้นจะสูญพันธุ์ |
๙. สาลินีฉันท์ ๑๑
| เกียจคร้านทำการงาน
เกิดมาเป็นคนไทย
ทำกินถิ่นของตัว
ชั่วผิดติดสันดาน
เหตุนั้นควรหมั่นเพียร
อย่ากลั้วมั่วกับคน
ดูจีนในถิ่นไทย
จีนนั้นหมั่นขวนขวาย | บมีบ้านจะอาศัย
ฤควรท้อระย่องาน
ผิทำชั่วก็เป็นพาล
วิบัติกรรมจะนำผล
ริเริ่มเรียนระวังตน
ทุศีลสร้างทุราบาย
เจริญวัยเพราะค้าขาย
ขยันงานและออมสิน |
๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑
| อักษรศาสตร์ให้
ลุแหล่งพิศาลศานติ์
เป็นมิตรประเสริฐสุด
แนะทางสุโขดม
ยามเศร้าก็เอาอัก –
ระบายระบมวาน
ยามชื่นก็เชิญอัก –
เชลงประวัติชู | คติในพิจารณ์ญาณ
และสนุกมโนรม
มิประทุษและทับถม
ดุจอาตมาจารย์
ษรลักษณ์ลิขิตขาน
ปรชนพินิจดู
ษรลักษณ์ลิขิตตรู
รสรื่นภิรมย์ชม |
๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
| จะควรประการใด
ก็อย่ากระทำเฉย
อุส่าห์พยายาม
สถิตเกษมสัง
เพราะทรัพย์ประเสริฐไซร้
มิทุจริตแฝง
และฐานะจะสูงส่ง
คณาประชาหัน | ผิจะได้สวัสดิ์เสวย
ธุระปล่อยมิมุ่งมิหวัง
ผลงามพยุงพลัง
คมคบประจบประแจง
ผิวได้สะดวกแสดง
นิรทุกข์จะสุขจะสันต์
ธนคงอเนกอนันต์
มนนบประณตประนอม |
๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒
| ชาติไทยจะไพบูรณ์
ก้าวหน้าประชานันท์
รักชาติประเทศล้น
ศัตรูผิจู่ตอม
เทิดไทยพิทักษ์ไทย
กอบกิจสฤษฎิ์คอย
หวังเพื่อพิพัฒน์ชาติ
ไทยเลิศประเสริฐสรรพ์ | สิริพูนมหิทธิ์มหันต์
ก็เพราะไทยทะนุถนอน
ผิวตนจะตายก็ยอม
จะประยุทธ์มิท้อมิถอย
บมิให้ริปูทยอย
อนุกูลกะกันและกัน
ทะนุราษฎร์เจริญจรัล
นรชาติก็สุขเกษม |
๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒
| นรชาติขยัน
ธุระกอบจิรกาล
จะประสบสุขนิตย์
ผิประสงคกมล
นรใดมิประกอบ
ผลชั่วจะประดัง
บมิสบสิริวัฒน์
เพราะประพฤติ ณ อธรรม | มนมั่นมิละงาน
ก็จะสบศุภผล
เพราะผลิตธนดล
บมิข้องขณะหวัง
กิจชอบฤจิรัง
ดุจฝน ณ วสันต์
จะวิบัติอนันต์
ประลุทุกขะเสมอ |
๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
| สวัสดี ณ ปีใหม่
ประสบสุขสนุกเพลิน
พิพัฒน์พลพิมลพักตร์
พิบูรณ์สรรพ์อนันต์ธน
จะตรองตรึกจะนึกคาด
อุดมพัสดุ์พิบัติสูญ
นิราศทุกข์ประยุกต์ธรรม
สถิตโสตถิ์สถาพร | ประสงค์ใดประสิทธิ์เทอญ
ตลอดศกสราญชนม์
พิไลลักษณ์พิทักษ์ผล
อเนกโภคโฉลกพูน
ก็สมมาดมโนกูล
เกษมสันต์นิรันดร
กุศลกรรมวรากร
สวัสดีอุดมเทอญ |
๑๕. กมลฉันท์ ๑๒
| คณะไทยจะสามารถ
สุจริต ณ จิตมี
ธุระกอบมิชอบเตร่
ละอบายมุขเพลิง
มนมุ่งผดุงชาติ
และกษัตริย์สมรรถชัย
วรรัฐธรรมนูญ
ผิวปัจนึกราญ | ก็เพราะราษฎรดี
สุรศักดิดำเกิง
บมิเหกมลเหลิง
ระอุเผาผะผ่าวใจ
ทะนุศาสนาไทย
อภิวันทนาการ
สิก็ทูนเถลิงสาร
จะสลายเพราะชายไทย |
| เชิญเรียนและตั้งกมลเพียร
ใฝ่หาวิชาจะชนะตน
เปรื่องปราชญ์ฉลาดนรขยาด
ก่อเกียรติศักดิ์สินะจะมัว
ชาติไทยไฉนจะละอุสา –
ปราศวิทย์เพราะปราศวิระยะคือ
เกิดมาก็มีสริระพร้อม
ทุกวันเถอะเพียรพิทยะเพ็ญ
บางคนสิท้อเพราะดนุโง่
ปล่อยใจไถลเละเทะเลอะเลย | เถอะนักเรียนจะเห็นผล
บมิต่ำถลำตัว
จะประมาทก็เกรงกลัว
เงอะงะโง่จะดีหรือ
หะมิกล้าจะฝึกปรือ
ติณแห้งพินิจเห็น
ฤจะยอมจะยากเย็น
นิจกาลก็ชินเคย
อะพิโธ่พิถังเอ๋ย
ก็ประสบวิบัติพลัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
|
|
๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐
|
|
๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑
| ลำดับนั้นวัสการพราหมณ์
แต่อุบายงาม
ปวงโอรสลิจฉวีดำ
คัญประดุจคำ
ไป่เหลือเลยสักองค์อัน
ขาดสมัครพันธ์
ต่างองค์นำความมิงามทูล
แห่ง ธ โดยมูล
แตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ายปาน
รีละน้อยตาม
| ธ ก็ยุศิษยตาม
ฉงนงำ
ริ ณ วิรุธก็สำ
ธ เสกสรร
มิละปิยสหฉันท์
ก็อาดูร
พระชนกอดิสูร
ปวัตติ์ความ
ลุวรบิดรลาม
ณ เหตุผล |
ขอบคุณที่มา : http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/chan/index.html
ฉันท์เพิ่มเติม
(อยู่ในระหว่างการรวบรวมและจัดทำ)
ฉันท์ในสมัยพระเวท
(อยู่ในระหว่างการรวบรวมและจัดทำ)
(อยู่ในระหว่างการรวบรวมและจัดทำ)