กลอนแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ กลอนสุภาพ กลอนลำนำ และกลอนตลาด
กลอนสุภาพ คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
๑. กลอน ๖
ผังกลอน ๖ |
๒. กลอน ๗
ผังกลอน ๗ |
๓. กลอน ๘
ผังกลอร ๘ |
๔. กลอน ๙
ผังกลอน ๙ |
กลอนสุภาพ นับว่าเป็นกลอนหลัก เพราะเป็นหลัก ของบรรดากลอนทุกชนิด ถ้าเข้าใจกลอนสุภาพ เป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้โดยง่าย กลอนอื่นๆ ที่มีชื่อเรียกไปต่างๆ นั้น ล้วนแต่ยักเยื้อง แบบวิธี ไปจากกลอนสุภาพ ซึ่งเป็นกลอนหลัก ทั้งสิ้น
กลอนลำนำ คือกลอนที่ใช้ขับร้อง หรือสวด ให้มีทำนองต่างๆ แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ
๑. กลอนบทละคร
ผังกลอนละคร |
ตัวอย่างกลอนบทละคร(คลิ้กที่รูปเพื่ออ่าน) |
๒. กลอนสักวา
ตัวอย่างกลอนสักวา(คลิ้กที่รูปเพื่ออ่าน) |
๓. กลอนเสภา
ผังกลอนเสภา |
ตัวอย่างกลอนเสภา(คลิ้กที่รูปเพื่ออ่าน) |
๔. กลอนดอกสร้อย
ผังกลอนดอกสร้อย |
ตัวอย่างกลอนดอกสร้อย(คลิ้กที่รูปเพื่ออ่าน) |
บทของกลอน
คำกลอนวรรคหนึ่ง เรียกว่า กลอนหนึ่ง สองวรรค หรือสองกลอน เรียกว่า บาทหนึ่ง หรือคำหนึ่ง สองคำ หรือสองบาท หรือสี่วรรค หรือสี่กลอน เรียกว่า บทหนี่ง วรรคทั้งสี่ของกลอน ยังมีชื่อเรียกต่างๆ กัน และนิยมใช้เสียงต่างๆ กันอีก คือ
๑. กลอนสลับ ได้แก่ กลอนวรรคต้น คำสุดท้าย ใช้คำเต้น คือนอกจากเสียงสามัญ แต่ถ้าจะใช้ ก็ไม่ห้าม
๒. กลอนรับ ได้แก่ กลอนวรรคที่สอง คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงโท, สามัญ, ตรี, และวรรณยุกต์เอกมีรูป วรรณยุกต์เอกไม่มีรูป ไม่ห้าม แต่ต้องให้คำสุดท้าย ของกลอนรอง เป็นเสียงตรี
๓. กลอนรอง ได้แก่ กลอนวรรคที่สาม คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๔. กลอนส่ง ได้แก่ กลอนวรรคที่สี่ คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ จะใช้คำตายเสียงตรี บ้างก็ได้
บาทของกลอน
คำกลอนนั้น นับ ๒ วรรคเป็น ๑ บาท ตามธรรมดา กลอนบทหนึ่ง จะต้องมีอย่างน้อย ๒ บาท (เว้นไว้แต่กลอนเพลงยาว หรือกลอนนิราศ ซึ่งนิยมใช้บทแรก ที่ขึ้นต้นเรื่อง เพียง ๓ วรรค) บาทแรก เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท คำกลอนจะยาวเท่าไรก็ตาม คงเรียกชื่อว่า บาทเอก บาทโท สลับกันไปจนจบ และต้องจบลง ด้วยบาทโทเสมอ เช่น
นิราศเรื่องหัวหินก็สิ้นสุด เมื่ออยู่เดี่ยวเปลี่ยวกายใจคร่ำครวญ ใช่ชำนาญการกวีเช่นศรีปราชญ์ บันทึกเรื่องที่เห็นเป็นตอนตอน มิใช่สารคดีมีประโยชน์ ตามแบบแผนบรรพกาลโบราณมา | เพราะจากบุตรภรรยามากำสรวล ก็ชักชวนให้คิดประดิษฐ์กลอน เขียนนนิราศก็เพราะรักเชิงอักษร ให้สมรมิตรอ่านเป็นขวัญตา จึงมีโอดมีครวญรัญจวนหา เป็นสาราเรื่องพรากจากอนงค์ | (บาทเอก) (บาทโท) (บาทเอก) (บาทโท) (บาทเอก) (บาทโท) |
กลวิธีการแต่งกลอน
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๒ ก็ดี คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และวรรคที่ ๔ ก็ดี ไม่ควรใช้คำที่มีเสียงเหมือนกัน หรือคำที่ใช้สระ และตัวสะกด ในมาตราเดียวกัน เช่น
ก. ในไพรสณฑ์พรั่งพรึบด้วยพฤกษา แนววนาน่ารักด้วยปักษา
ข. เขาเดินทุ่งมุ่งลัดตัดมรรคา มั้นหมามาเพื่อยับยังเคหา
ค. เห็นนกน้อยแนบคู่คิดถึงน้อง มาจับจ้องมองตรงส่งเสียงร้อง
๒. คำที่รับสัมผัสในวรรคที่ ๒ และวรรคที่ ๔ ควรให้ตำแหน่งสัมผัสตกอยู่ที่พยางค์สุดท้ายของคำ ไม่ควรให้สัมผัสลงที่ต้นคำ หรือกลางคำ ยิ่งเป็นกลอนขับร้อง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้เสียความในเวลาขับร้อง เช่น
***สดับถ้อยสุนทรนอนดำริ จนสุริยาแจ้งแจ่มเวหา***
๓. คำสุดท้ายของวรรคควรใช้คำเต็ม ไม่ควรใช้ครึ่งคำ หรือยัติภังค์ เว้นไว้แต่แต่งเป็นกลบทยัติภังค์ หรือเป็นโคลง,ฉันท์ และกาพย์ เช่น
***อันถ้อยคำของท่านนั้นเป็นสา มานย์วาจาฟังไปไม่เกิดหรร
ษารมณ์เลยสักนิดจะผิดจรร ยาทั้งนั้นไร้ศีลฉันสิ้นอา(วรณ์)***
การแยกคำออกใช้คนละครึ่งในระหว่างวรรคเช่นนี้ไม่ควรใช้
๔. ไม่ควรใช้ภาษาอื่นที่ยังมิได้รับรอง มาเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทย เช่น
***โอไมเดียร ดาริ่งมิ่งสมร บิวตี้ฟูลสุนทรหฤหรรษ์
แม่ชื่นจิตสวีทฮาตจะคลาดกัน ใจป่วนปั่นหันเหเซกู๊ดบาย***
ส่วนบาลีและสันสกฤตให้ใช้ได้ เพราะเรารับมาใช้เป็นส่วนหนึ่งแห่งภาษาไทย แต่กระนั้นก็ต้องแปลงรูปคำเสียก่อน จะนำมาใช้ทั้งดุ้นไม่ได้
๕. ไม่ควรใช้ "ภาษาแสลงโสต" คือถ้อยคำที่พูดด้วยความตลกคะนอง หยาบโลน หรือเปรียบเทียบกับของหยาบซึ่งใช้กันอยู่ในกลุ่มคนส่วนน้อย และรู้กันแต่เฉพาะในวงแคบๆ เช่นคำว่า ม่องเท่ง, จำหนับ, จ้ำบ๊ะ, ตั้กฉึ้ก, ถังแตก, ยกล้อ ฯลฯ