กลบท คือ การประดิษฐ์ คิดแต่งคำประพันธ์ ให้มีลักษณะ แปลกไปจากเดิม โดยลักษณะ บังคับเดิม ของคำประพันธ์นั้น ยังคงใช้อยู่ครบถ้วน แต่แต่งเพิ่มเติมขึ้นให้ต้องตามลักษณะของกล คำประพันธ์ ที่แต่งเป็น กลได้มีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ซึ่งสามารถแต่งได้เป็น ๒ แบบ คือ แบบกลอักษร และแบบ ซ่อนรูป (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลแบบ)
กลบทเป็น เครื่องแสดงสติปัญญา ของกวีในการที่ จะคิดค้น พลิกแพลง กวีนิพนธ์ แบบฉบับ ให้มีลักษณะ เด่นเป็นพิเศษขึ้น โดยการเพิ่ม ลักษณะบังคับต่างๆ และเป็นเครื่อง ลับสมอง ลองปัญญา ในหมู่กวี ด้วยกัน ในการที่จะ พยายาม ถอดรูปกลแบบ ที่ซ่อนไว้ให้สำเร็จ ผลพลอยได้ ก็คือความไพเราะ ของกวีนิพนธ์ แต่ก็มีกลบท อีกจำนวนไม่น้อย ที่ไพเราะสู้ คำประพันธ์ ธรรมดาไม่ได้ เนื่องจาก กวีเพิ่มลักษณะบังคับ ที่ไม่เอื้ออำนวย
มีหลักฐาน เป็นที่เชื่อถือได้ว่า กวีไทยได้แบบอย่าง การแต่งกลบท มาจากอินเดีย ในคัมภีร์ สุโพธาลังการ อันเป็นตำรา อลังการศาสตร์ ฉบับบาลี ที่รวบรวมขึ้น โดยพระสังฆรักขิต ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และตำรา อลังการศาสตร์ ฉบับสันสกฤต ของวาคภัฏ ที่รวบรวมขึ้น ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ล้วนปรากฏ กลวิธีการประพันธ์ ที่มีลักษณะ เหมือนกับกลบท ของไทย
ตำรากลบทของไทย มีอยู่ด้วยกัน ๓ เรื่องคือ
๑. จินดามณี แต่งขึ้นใน สมัยอยุธยา ตอนกลาง ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ผู้แต่งคือ พระโหราธิบดี มีลักษณะ เป็นแบบเรียน ภาษาไทย เนื้อหาประกอบด้วย การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ ชนิดต่างๆ และกลบท ปรากฏกลบท อยู่ ๖๐ ชนิด มีทั้ง กลอักษร และกลแบบ
๒. ศิริวิบุลกิตติ์ แต่งในสมัย อยุธยา ตอนปลาย ผู้แต่งคือ หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เนื้อเรื่องนำมาจาก ศิริวิบุลกิตติ์ชาดก แต่งด้วย คำประพันธ์ ประเภทกลอน โดยใช้กลบท ชนิดต่างๆ สลับกันตลอดเรื่อง รวมกลบท ทั้งสิ้น ๘๕ ชนิด มีทั้งที่ซ้ำ และต่างจาก กลบทใน จินดามณี เนื่องจากแต่งโดย ผูกเป็นเรื่องราว กลบทใน ศิริวิบุลกิตติ์ จึงเป็นแบบกลอักษร ทั้งหมด
๓. ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ เกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๗๕ ทรงปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพน ฯ และทรงมี พระราชประสงค์ จะให้เป็น แหล่งเล่าเรียน วิชาความรู้ ของมหาชน ไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ให้รวบรวม เลือกสรร ตำรับตำราต่างๆ โดยตรวจแก้ จากของเดิมบ้าง และประชุม ผู้รู้ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง ทั้งด้าน วรรณคดี โบราณคดี และวิชาอื่นๆ และโปรด ฯ ให้จารึก แผ่นศิลาไว้ ในบริเวณ วัดพระเชตุพน ฯ เมื่อผู้ใดสนใจ วิชาใด ก็สามารถ เล่าเรียนได้จากศิลาจารึกนั้น จารึกวัดพระเชตุพนฯ ได้รับการรวบรวมพิมพ์ เป็นหนังสือขึ้น ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทร้อยแก้ว และประเภทร้อยกรอง ในแต่ละประเภท ยังแบ่งออกเป็น ๕ หมวด มี หมวดประวัติวัด หมวดวรรณคดี หมวดสุภาษิต หมวดทำเนียบ และหมวดอนามัย ตำรากลบท อยู่ในหมวดวรรณคดี มีทั้งหมด ๙๗ ชนิด มีทั้งกล อักษร
และกลแบบ ส่วนใหญ่ ซ้ำกับกลบทใน ศิริวิบุลกิตติ์
ชนิดของกลบท
จำแนกออกเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ ๕ ประเภทคือ
๑. ชนิดบังคับเสียง แบ่งเป็นลักษณะย่อย ๕ อย่างคือ
๑.๑ บังคับเสียงสระ
๑.๒ บังคับเสียงพยัญชนะ
๑.๓ บังคับเสียงสระและพยัญชนะ
๑.๔ บังคับวรรณยุกต์
๑.๕ บังคับเสียงสั้น-ยาว, หนักเบา
๒. ชนิดบังคับคำ
๒.๑ ซ้ำคำต้นวรรคในลักษณะกระทู้
๒.๒ ซ้ำคำในวรรคเดียวกัน
๒.๓ ซ้ำคำข้ามวรรค
๒.๔ ซ้ำคำใดคำหนึ่งตลอดบท
๒.๕ ซ้ำคำถอยหลังในวรรคเดียวกัน
๒.๖ ซ้ำคำถอยหลังข้ามวรรค
๓. ชนิดบังคับทั้งเสียงและคำ
๔. ชนิดบังคับอักขรวิธี
๕. ชนิดบังคับฉันทลักษณ์
๒.กลแบบ
กลแบบได้แก่ การนำคำประพันธ์ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มาวางรูปเสียใหม่ ให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ผู้อ่านถอด ผู้อ่านจะต้องทราบฉันทลักษณ์ ของคำประพันธ์ ชนิดนั้นๆ จึงจะสามารถ ถอดคำอ่านได้ การซ่อนรูป คำประพันธ์นี้ มี ๒ ลักษณะคือ
๑. เปลี่ยนรูปคำประพันธ์ให้ผิดไปจากเดิม
๒. เรียงคำเป็นรูปต่างๆ เช่น เป็นตาราง เป็นรูปดอกไม้ ฯลฯ
กลแบบนี้ จะมีเฉพาะคำประพันธ์ ประเภทโคลงสี่เท่านั้น เนื่องจากเป็นคำประพันธ์ ที่จบบทในตัว สามารถ นำมาวางรูปต่างๆ ได้พอเหมาะ ส่วนคำประพันธ์ ชนิดอื่นๆ ฉันทลักษณ์ไม่เอื้ออำนวย ต่อการนำมาบังคับรูป กลแบบชนิดต่างๆ ที่นำมานี้คัดลอกมาจาก หนังสือ จินดามณี และ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ โดยนำมาจัด หมวดหมู่ใหม่ ตามลักษณะร่วม เพื่อง่ายต่อการศึกษา และทำความเข้าใจ
*** หนังสืออ้างอิง:
๑. "ศิริวิบุลกิตติ์" หลวงศรีปรีชา (เซ่ง)
๒. "จินดามณี" พระโหราธิบดี
๓. "กวีนิพนธ์ไทย เล่ม ๒" โดย สุภาพร มากแจ้ง
๔. "ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ"
๑.๑ ให้มีการซ้ำเสียงสระในลักษณะต่างๆ กันทุกวรรคหรือทุกบาท เช่น บังคับซ้ำเสียงสระ ๑ คู่, ๒ คู่ หรือทุกคำ
โคลง: กลบทสายไหม
O O O O X O X
บังคับให้ซ้ำเสียงสระในคำที่ ๕ กับคำที่ ๗ ทุกบาท
ตนไกลจิตเจตนใช้ เพื่อฝากนุชนงไว เททรวงอ่วงอกไน ตายบ่ตายนี้ไหม้ | เมื่อไช แว่นไว้ ปานไน่ นุชเอย มาดหม้ายเวทนา |
โคลง: สีหติกำกาม
O X X O O O O
บังคับให้ซ้ำเสียงสระในคำที่ ๒-๓ ทุกบาท
ธ วัวกลัวเมียเพี้ยง โม เมาเงางุนเยือ โอ โถงโครงเปล่าเหลือ ปาก หากลากคำค้า | กลัวเสือ กล่าวกล้า ตัวแต่ง คึ่งให้ใครขาม |
โคลง: โตเล่นหาง แบบที่ ๑
O O O O X X O
บังคับให้ซ้ำเสียงพยัญชนะในคำที่ ๕-๖ ทุกบาท
คลุกประจนเลือดหลั่งเนื้อ ตาวต่อตาวโล่หัน ไทยรุกไล่มอญไถล คชไขว่ม้าล้มสิ้น | นองไหล หวดดิ้น ถลาหอบ สุดปราน |
(ผืนแผ่นไผหนี้ล้ำ แหล่งคุณ)
โคลง: โตเล่นหาง แบบที่ ๒
O O O O X X O
บังคับให้ซ้ำเสียงสระในคำที่ ๔-๕ และซ้ำเสียงพยัญชนะในคำที่ ๕-๖ ทุกบาท
นางพลันเป็นหมู่รู้ เร่งปรึกษาความงาม เข้ากรุงมุ่งตามยาม ก่อนบ่ายพลาดแพ้แท้ | เรื่องตาม เงื่อนแก้ ยกคติ ทูลเอย ทบย้อนคืออรินทร์ |
(เลือดเนื้อพลีเพื่อไทย)
กลอน:โตเล่นหาง, สิงโตเล่นหางO O O O X X O O
บังคับใช้ซ้ำเสียงสระ ในคำที่ ๕-๖ ทุกวรรค
พวกอำมาตย์แห่งท้าวเจ้ากรุงศรี ไม่มีผู้สู้ต่อรอฤทธา ประมาณพันกลั่นกล้าร่าเริงแสน ให้ครั่นคร้ามขามตัวกลัวฤทธิ์ชาญ | ล้วนเลิศดีเกรงหมดทศทิศา ออกระอาท้าวจบภพจักรพาฬ ถึงยอดแดนสยอนเดชเขตสถาน ย่อมชำนาญการยุทธ์สุดฝีมือ |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ช้างชูงวง
O O X X O X X O O
บังคับซ้ำเสียงสระในคำที่ ๓-๔ กับ ๖-๗ ทุกวรรค
บุตรบังคมก้มเศียรราบกราบทูล ว่าไม่ควรจวนพระองค์ปลงชีพไว แม้นชีวิตจิตรวิญญาข้าพระองค์ คงไม่ละพระบิตุรงค์จงใจจุน | ตามเค้ามูลสกูลนักปราชญ์มาทพิสไมย ม้วยบรรไลใจพยาบาทมาทแทนคุณ จะยืนยงจงใจดีมีหมองหมุน จักแทนคุณบุญไปจงปลงชีพวาย |
กลอน: บาทเลื่อนล้า
บังคับซ้ำเสียงสระเดียวกันตลอดบท
ดูหนูสู่รูงู หนูงูสู้ดูอยู่ ดูงูขู่ฝูดฝู้ หนูสู่รูงูงู งูสู้หนูหนูสู้ หนูรู้งูงูรู้ | งูสุดสู้หนูสู้งู รูปงูทู่หนูมูทู พรูพรู สุดสู้ งูอยู่ รูปถู้มูทู |
โคลง: พิไสยลมภอ
บังคับซ้ำเสียงสระเดียวกันตลอดบท
ใส่ใจใครใกล้ใช่ ใจใครไปใช่ไหน ใจใจใครไชไช ใจใคร่ไปไจ้ไจ้ | ใจไกล ไป่ได้ ใจใฝ่ ไปสรอย ไปได้ไปไช |
(จินดามณี)
๑.๒ บังคับเสียงพยัญชนะ เป็นกลบทที่บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะทุกวรรค หรือทุกบาท ในลักษณะต่างๆ กัน ตั้งแต่ ๒, ๓ เสียง จนถึงเสียงเดียวกัน ตลอดวรรค หรือตลอดบาท ลักษณะการซ้ำอาจมีตั้งแต่ซ้ำต้นวรรค ซ้ำกลางวรรค ซ้ำท้ายวรรค หรือซ้ำท้ายวรรคแรกกับต้นวรรคต่อไป
กลอน: อักษรล้วน แบบที่ ๑
บังคับเสียงพยัญชนะเดียวกันตลอดวรรค
จากจอมเจ้าใจจวนจิตรจิตจักเจียน เดินเดียวแด่วดุ่มดันดั้นดงดวน ลัดลอดเลียบแลเหลียวเหลียวแลหลง แม้นเหมือนแม่มามุ่งเมียงหมาง | ให้หันเหียนหุนหันหันเหหวน ท้อแท้ทวนทับเทาท้าวท้าวทาง เห็นเหมหงส์หวนเหิรหันหวงหาง นักแน่นางน้ำเนตรแนวหน้านอง |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
โคลง: อักษรล้วน แบบที่ ๑
บังคับเสียงพยัญชนะเดียวกันตลอดวรรค
แจ้วแจ้วจักจั่นจ้า หริ่งหริ่งเรื่อยเรไร แซงแซวส่งเสียงใส แหนงนิ่งนึกนุชน้อง | จับใจ ร่ำร้อง ทราบโสต แนบเนื้อนวลนาง |
(โคลงนิราศสุพรรณ)
โคลง: อักษรสลับ
บังคับเสียงพยัญชนะ ๑ เสียง สลับกันตลอดบาท
ผายสารพจน์สาสน์ผู้ เร่งเตรียมเร่งเตรียมริ ทกกิจทกกองทำ แผกแบบพู้นเบื้องพ้น | ส่ำผอง มาตย์แฮ ตริร้น กอปรทั่ว สถานเฮย เบี่ยงฝัน |
(กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ )
ยลโศกยามเศร้ายิ่ง คิดสุดขัดแสนเข็ญ หวนหนาวหากนึกเห็น ดวงจิตเด็ดจากได้ | ทรวงเย็น โศกไข้ หน้าแห่ง น้องแฮ จึงดิ้นจำโดย |
กลอน: อักษรล้วน แบบที่ ๒
บังคับเสียงพยัญชนะสามเสียงทุกวรรค
จักกลับกล่าวด่าวเดิมดาบสน้อย สว่างแจ้งแสงศรีสุรีย์จรัส สวมมงกุฎสอดใส่สอดอังสา ทรงหนังเสือเยื้องย่องยังพระนคร | ครั้นสุริยะลอยเลื่อนล่องสวัสดิ์ เลื่อนลอยลัดเขาแก้วยุคุนธร นุ่งผ้าคากรองรุ่งเรืองรังสร เที่ยวโคจรจ้องจิตรถึงบิตุรา |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
โคลง: อักษรล้วน แบบที่ ๒
จำร้างห่างน้องนึก สองฝ่ายชายหญิงยวน หวังชายฝ่ายหญิงชวน กลเล่นเช่นซักเศร้า | น่าสวน ยั่วเย้า ชื่นเช่น เห็นเอย เสพเผื้อนเฟือนเกษม |
(โคลงนิราศสุพรรณ)
กลอน: เบญจวรรณห้าสี
X X X X X O O
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๕ เสียงต้นวรรคทุกวรรค
คนข้างเคียงเคยคอยพลอยกลับกลาย หลงละเลิงลมลิ้นไม่กินแหนง โน่นนี่นั่นแนะนำแล้วทำเมิน | แสนสุดโศกสั่งสารเห็นนานหาย อกเอ๋ยโอ้เอออายเพราะหมายเกิน สายสนสื่อเสกแสร้งช่วยเดินเหิน ชักชวนเชิญเชือนใช้ไม่เหลียวแล |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: จตุรงคยมก
X X X X O O O O O X X X X O O O O O
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๔ เสียงต้นวรรคเหมือนกันทั้ง ๒ วรรคในบาทเดียวกัน
ทุกเทพไทถ้วนหน้าจงมานี่ สุกแสงส่องศรีกายพรายพรรณ์ ภุมมาจายันตุเทวา อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล | ทั้งเทพธิดาที่เลิศประเสริฐสรรพ์ แสงศรีสรรพ์สุกใสก็ไพบูลย์ ภุมมะจาเจ้าบดีสูร อันเรืองรูญรังสีระวีวร |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: เลวงวางตรวจ
X X X O O X X X
ซ้ำเสียงพยัญชนะคำที่ ๑,๒,๓ กับ ๖,๗,๘ ในวรรคเดียวกันทุกวรรค
แสนสุดโศกด้วยโรครักแรมโรย ตั้งแต่เติ่งเชื่อชั่วเชื่อโฉม เมื่อไม่มีแผกผิดคิดเขินค้าง | ขุ่นแค้นคิดไข้ใจให้หวนโหย เดือดดิ้นโดยหึงหวนในนวลนาง ละเลิงโลมทำสะเทินเมินหมองหมาง ทิ้งทอดทางอาลัยใจจัดจริง |
(หมื่นนิพนธ์อักษร: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: งูกระหวัดหาง
O O O O O O O X X O O O O O O X
X O O O O O O X X O O O O O O X
ซ้ำเสียงพยัญชนะข้ามวรรคในคำสุดท้าย ของวรรคแรกกับคำแรก ของวรรคถัดไปทุกวรรค
โพธิสัตว์ตรัสฟังแจ้งจังจิตร สุดเหมือนหมายคลายโศกวิโยคแค้น แรกได้ฟังสั่งเสร็จให้เพ็ชฌฆาต สั่งให้ฆ่าบุตรแทนแสนชื่นนัก | ใจเจ้าคิดแช่มชื่นรื่นเริงแสน คิดหนักแน่นถึงคุณการุณรัก คิดปล่อยราชปิตุรงค์ผู้ทรงศักดิ์ นึกให้รักวิ่งมาไม่ช้าที |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ช้างประสานงา
O O O O O X X X X X X O O X X X
X X X O O X X X X X X O O X X X
ซ้ำเสียงพยัญชนะข้ามวรรค ๓ คำสุดท้ายของวรรคแรกกับ ๓ คำแรกของวรรค ถัดไปทุกวรรค
ถึงสนนคนสนั่นอั้นอลวน บ่าวสาวแก่แลหลามตามตลาด มีของหลายขายค้าสารพัน | พอแดดร่มลมชายไปท้ายสนน ออกอลเวงเดินปนเบียดเสียดกัน ตั้งตลอดร้านราษฎร์ไม่ขาดหลั่น สำหรับแผงแต่งประชันประชุมเรียง |
กลอน: อักษรบริพันธ์
ลักษณะบังคับ เหมือนช้างประสานงาทุกประการ
อันเรื่องราวท้าวยศกิติจอมอิศเรศ จิตรเสมอเหมือนมหาสุธาธาร เพราะเหตุท้าวปรากฏในทศมิตร พวกสมัดกุลาพม่าไทย | เจ้าอัมราเรืองเดชดวงเจตสมาน สุดที่เทียบเปรียบปานพระหฤไทย นอกทุกเมืองเรืองฤทธิ์พิไศมย พวกมอญเทศเพศไสยแขกไซแซม |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
๑.๓ บังคับเสียงสระและพยัญชนะ บังคับซ้ำทั้งเสียงพยัญชนะและสระ ทั้งในวรรคเดียวกัน และข้ามวรรค มากมาย หลายลักษณะ ส่วนใหญ่เป็นกลบท ที่ไพเราะ เพราะมีทั้งเสียงสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร
กลอน: เทพชุมนุม
ซ้ำเสียงสระและพยัญชนะอย่างละ ๒ คู่ ทุกวรรค โดยไม่กำหนดตำแหน่ง
มาว้าเหว่เอกาอุราเรา แสนร้อนนอนเถื่อนเป็นเรือนถิ่น ฉุนฉุนชื่นคืนถวิลเหมือนกลิ่นนวล | นิราไกลไร้หน้าพงาเหงา มีแต่เศร้าเปล่าใจให้รัญจวน รื่นรื่นกลิ่นคันธมาลย์ร่านรนหวน กลครั่นครวญป่วน ปั่นกระสันพักตร์ |
(ขุนธนสิทธิ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน)
กลอน: มธุรสวาที
มีลักษณะเหมือนกับเทพชุมนุม
อตีเตแต่นานนิทานหลัง ชื่อจำบากหลากเลิศประเสริฐดี ดำรงภพลบเลิศประเสริฐโลกย์ อานุภาพปราบเปรื่องกระเดื่องปรา | มีนครั้งหนึ่งกว้างสำอางศรี เจ้าธานียศกิตติ์มหิศรา เป็นจอมโจกจุลจักรอัครมหา กฎเดชาเป็นเกษนิเวศเวียง |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ก้านต่อดอก
O O O O O O X X
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๑ คู่ โดยไม่กำหนดตำแหน่ง และซ้ำเสียงสระ ๒ คำ ท้ายวรรคทุกวรรค
ครั้นรุ่งรางสว่างรัศมี ซึ่งผลไม้ใกล้กลาดดาษป่ามา ถึงเนินวิบูลย์บรรพ์อันกว้างขวาง เห็นบบรรศาลาสุดอุดมชม | ศรีพระภูมีลีเดิรเนินป่าหา ให้กัลยาเสวยเชยสมชม พระพานางย่างเดิรเนินพนมสม น่านิยมชื่อจิตรพิสมัยใน |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
โคลง: ก้านต่อดอก
O O O O O X X
หอระฆังทรงสร้างใหม่ ในอุดรลานเถลิง การประดับสร้างสรรค์เสมือน สถานสถิตนอกชั้น | เหมือนเรือน แรกฤๅ หลั่นนั้น มีที่ เพรงพ่อ กั้นแห่งกระแพง |
(กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: อักษรสังวาส
X X O O O O X X
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๒ คำต้น และ ๒ คำท้ายทุกวรรค ซ้ำเสียงพยัญชนะอย่างน้อย ๑ คู่ ทุกวรรค โดยไม่กำหนดตำแหน่ง
ส่วนนวลเจ้าล้ำเลิศประโลมโฉม เพราะเจาะใจในบุตรสุดมั่งคั่ง ที่พิภพจักรพรรดิ์ประเสริฐเลิศ ครั้นขวัญตาอายุอุดมชม | คลายหายโทมนัสคิดจิตรตั้งหวัง เปรียบเทียบดั่งได้เสวยเชยสมชม ในใจเจิดแจ่มสว่างอารมณ์สม ควรจวนจักนิยมเป็นชีม |
กลอน: กินนรรำ
ะ x x ะ + + ะ O O
ซ้ำเสียงอะ ในคำที่ ๑,๔,๗ ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คู่ ในคำที่ ๒-๓, ๕-๖, ๘-๙ ซ้ำเสียงสระ ๒ คู่ ในคำที่ ๓-๕, ๖-๘
ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน สมรเหมือนจะเคลื่อนคลาดอนาถนัก ระทดถึงคะนึงนางจะวางวาย | ชะจิตรใจไฉนนางระคางเขิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญพเอิญอาย ขะรอยเริงละเลิงรักสมัครหมาย จะห่างเหเสน่ห์หน่ายสลายเลือน |
(นายนกมหาดเล็ก: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: อักษรสลับล้วน
x x x O O O + + +
ซ้ำเสียงพยัญชนะชุดละ ๓ คำ ๓ ชุด ทุกวรรค ซ้ำเสียงสระในคำที่ ๓-๔, ๖-๗
เศร้าโศกแสนแค้นครุ่นคิดจิตรจวนจาก ส้านเสียวสรรคครั่นเครงครุ่นวุ่นเวียงวง กาเกาะกิ่งจิงโจนจับงับเงียบเหงา นกน้อยนิ่งอิงแอบอกหมกมุ่นมอง | บ่ายเบี่ยงบากมากมายเมียงเสียงโศกสง เอนเอียงองค์ลงแลเลียบเมียบเมียงมอง เปล่าเปลี่ยวเปล่าเหงาเงื่องงงสงสารสอง เซ่าเซื่องซ้องมองเมียงไม้ใครคร่ำครวญ |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ดวงเดือนประดับดาว
X X Y Y + + +
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ ชุด จำนวน ๒-๒-๓ ซ้ำเสียงสระในคำที่ ๒-๓ และ ๔-๕ ทุกวรรคลักษณะบังคับเช่นนี้ เป็นเช่นเดียวกับอักษรสลับล้วน แต่ลดจำนวนคำ ในแต่ละวรรคลงเหลือวรรคละ ๗ คำ
เวียนวงหลงลมงมงงงวย โลมโลกโยกย้ายอายอกเอ๋ย เคลื่อนคลายหมายใหม่ใจจืดจาง | เจ็บจิตรมิตรหมางค้างเขินขวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง ชวดเชยเลยลามความแขวนขวาง เหินห่างว่างเว้นเล่นเลยละเลิง |
(นายทัตมหาดเล็ก: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: ดำเนินนางสระ
X X Y Y O + +
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ ชุด ชุดละ ๒ คำ ในคำที่ ๑-๒, ๓-๔, และ ๖-๗ ซ้ำเสียงสระ ๒ คู่ ในคำที่ ๒-๓ และ ๔ กับ ๖ ทุกวรรค และเลื่อนรับสัมผัสระหว่างวรรค ไปรับในคำที่ ๔
พักตร์ผ่องส่องศรีฉวีวรรณ พุ่มภู่ดูดีเกศีเส้น ยิ่งอย่างนางใจจุไรรอย | โฉมเฉิดเพริศพริ้งทุกสิ่งสรรพ์ พิศเพี้ยนเจียนจันทร์บุหลันลอย ขลับคล้ำดำเด่นทุกเส้นสอย เรียบร้อยช้อยชมนิยมยิน |
กลอน: กบเต้นสลักเพชร
X Y + X Y + X Y +
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ เสียง สลับกันตลอดวรรค ซ้ำเสียงสระในคำที่ ๓-๔ และ ๖-๗ ทุกวรรค และเลื่อนรับสัมผัสระหว่างวรรคไปรับในคำที่ ๖
จนแต่นกจกเต้นหน้าจาตามแน่น จับไม้น้าวเจ้าโมกนอนจอนมากใน เหล่าชะนังหลั่งชลไนยน์ไหลเช็ด นายเพ็ชรฆาตนาดเพียงแค้นแน่นเพ็ชคง | มองหน้าสูหมู่นกแสนแม่นเนตรใส จิตรเปลี่ยวเหงาเจ่าเปลี่ยวไหงใจปลอดจง เนตรแนวพักตร์หวังนั่งเพ่งเวทเนตรพิศวง เดินแนวจงดงเนินจวนด่วนนำจร |
กลอน: กบเต้นต่อยหอย
X Y + X Y + O O O
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ เสียง สลับกัน ๒ ชุด ในคำที่ ๑,๒,๓ กับ ๔,๕,๖ ซ้ำเสียงสระ ๑ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ ทุกวรรค และเลื่อนรับสัมผัสสระหว่างวรรคไปรับคำที่ ๖
น้ำใจตรึกนึกจิตตรองต่างทองเทียน ยุคลบังยังคู่บาทพระศาสดา เคารพธรรมคำรพที่โมลีธรรม์ | ยกหัตถ์น้อมยอมหัตถ์นั่งขึ้นตั้งเศียร แจ่มจำนองจองจำเนียรบังคมคัล เป็นเทวินทร์ปิ่นเทวาโลกาสรรพ์ ส่องดวงใจใสดั่งจันทร์แจ่มอัมพร |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ระลอกแก้วกระทบฝั่ง
X Y + X Y + O O O
ลักษณะบังคับเช่นเดียวกับกบเต้นต่อยหอย แต่เพิ่มซ้ำเสียงสระเป็น ๒ คู่ ในคำที่ ๓ กับคำที่ ๕ และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘
นายชายพรานหนึ่งชาญไพรล่ำใหญ่ มือป้องหน้ามุ่วป่าแน่วเข้าแถววัน มุ่งปะทะมาปะที่คนตีกลอง เดิมแรกหูได้รู้เหตุสังเกตความ | ขยับได้ยินกลองเดินย่องกลับดูคับขัน สุนัขย่องสุดมองขยันติดพันตาม เพื่อนทักจ๋าพูดท่าจ้องคนร้องถาม ว่าทรงนามว่าทรามนาฏนิราศจร |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: กบเต้นสามตอน
X Y X Y X Y
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ ชุด ชุดละ ๒ เสียง สลับกันตลอดวรรค ซ้าเสียงสระ ๒ คู่ ในคำที่ ๒-๓ และ ๔-๖
เสือร้องสองเรียงเสียงราน นอนแอบแนบอิงนิ่งอ้วน ซบมองช่องไม้ซ้ายมือ เห็นหมูหูหมางหางมน | ก้องหาญการฮึกกึกหวน ครึกรวนครญร่ำคำรน ครึกหือครือหวนครวญหน โจมต้องจ้องตนจนตัว |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: สุรางค์ระบำ
O X Y X Y O X Y
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๒ เสียง ๓ ชุดตลอดวรรค ในคำที่ ๒-๓, ๔-๕ และ ๗-๘ ซ้ำเสียงสระ ๒ คู่ ในคำที่ ๓-๔ และคำที่ ๕ กับ ๗
จนทุกข์สุมทุ่มซ้อนสะท้อนทรวง เมื่อไรหนอรอหนักยิ่งรักน้อง ชะรอยกรรมร่ำก่อให้รอการ | แต่วันเห็นเว้นหายไม่วายห่วง เพราะเหตุหน่วงห่วงเนิ่นห่างเหินนาน จนคิดมุ่นขุ่นหมองถึงของสมาน ควรรำคาญราญคิดสุดฤทธิ์คอย |
(นายทัตมหาดเล็ก: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: นารายณ์ทรงเครื่อง
X Y X Y + O + O
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๒ ชุด ชุดละ ๒ คู่ ซ้ำเสียงสระ ๒ คู่ ในคำที่ ๒-๓ และคำที่ ๔ กับคำที่ ๖ ทุกวรรค เลื่อนรับสัมผัสระหว่างวรรคไปรับในคำที่ ๔
ข้าสาวข้าวศรีทรวดมีทรงมิ่ง นมตั้งนั่งเต้าคลอเคล้าแคลคลิ้น โอษฐ์เอี่ยมอรอรรถศรีจัดแสงจิ่ม หน้ายวนนวลอย่างดวงนางดูน้อย | นางแอบแนบอิงสุดถวิลแสนถวิล ฬ่อหลาลาลินเลิศลินลาลอย เยือนแย้มแย่มยิ้มแสงหิมสุกห้อย แชล่มแช่มลอยพักตร์ช้อยเพียงชม |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: นาคราชแผลงฤทธิ์
O O O O O X Y + X Y + O O X Y +
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ ท้ายวรรค กับ ๓ คำ ต้นวรรคถัดไป ซ้ำเสียงสระ วรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓-๔, คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เลื่อนรับสัมผัส ระหว่างวรรคมารับในคำที่ ๕ ของแต่ละวรรค
กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน เจียรวุ่นวายบ่ายพักตร์ให้หนักใจ เจียรหวนหาว่าไว้ไม่สมเพียรเมียน | คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน ให้น้อยจิตรคิดไปใจหันเหียน สุดภาคยากเจียนเวียนจิตรใน |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: เจ้าเซนเต้นต้ำบุด
X Y X Y X Y X Y X Y X Y X Y
ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๒ เสียงสลับกันตลอดลบท สุดแต่ว่าจะยาวเท่าใด และซ้ำเสียงสระ ๑-๒ คู่ ทุกวรรคโดยไม่กำหนดตำแหน่ง
คำสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ข้อซึ่งขำซ้ำไขใส่เข้า คำสัตย์คัดเสียคนเสียคน | สุดแค้นแสนคมสมเขาสรวล ซึ่งข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน รู้เค้าสุดแค้นแสนขัดสน ซึ่งขนไล้ขายสายคำซ้อน |
(หลวงนายชาญภูเบศร์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
๑.๔ บังคับวรรณยุกต์ มีลักษณะสำคัญคือ บังคับให้มีคำผันวรรณยุกต์ ๓ เสียงเรียงกันอยู่ทุกวรรค เสียงวรรณยุกต์ ทีมาเรียงกัน อาจเป็นเสียงสามัญ เอก โท, เอก โท ตรี, โท ตรี จัตวา ฯลฯ ตำแหน่ง ของคำที่ผันในวรรคไม่ตายตัว
โคลง: อักษรสามหมู่
เสนาสูสู่สู้ ยิงค่ายหลายเมืองแยง รุกร้นร่นรนแรง ลวงล่วงล้วงวังแว้ง | ศรแผลง แย่งแย้ง ฤทธิ์รับ รวบเร้าเอามา |
(โคลงอักษรสามหมู่)
ระวังไพรร่ายร้องกร่อ แอ้แอ่แอ้แอ๊อุลอ พญาลอล่อล้อคลอ กระหรอดกรอดกร๊อดกร๋อดก้อง | กร๋อกรอ เลียบร้อง เคล้าคู่ อยู่แฮ กระรอกเต้นเล่นกระแต |
(โคลงนิราศสุพรรณ)
กลอน: ประดับ
O O x x่ x้ O O O
ผันรูปวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ทุกวรรค
เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดังแสนศร ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล ให้ร้อนราวร่าวร้าวดวงจิตถวิล อกน้องรอนร่อนร้อนเร่งรำคาญ | มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย เวรชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน จากบดินทร์แดวแด่วแด้วสงสาร ฤดีดานด่านด้านอาดูรเดียว |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ตรีประดับ
O x x่ x้ O O O O หรือ O x้ x่ x O O O O
ผันรูปวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท หรือ โท เอ สามัญทุกวรรค
ชะลอล่อล้อโลกให้โศกโซม ดังกระต่ายหง้อยหง่อยหงอยแหงนหงาย รัชนีนี่นี้มิอาลัยแล | อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม แต่เลาเล่าเล้าโลมฤดีแด ชะม้ายม่ายมายเมียงจะเคียงแข กระต่ายแต่ซบเซาเซ่าเซ้าคะนึง |
กลอน: ตรีเพชรพวง
ผันเสียงวรรณยุกต์ ๓ เสียงทุกวรรค
จับปี่หริงหริ่งหริ้งพริ้งเพราะเพียง จะเข้กรีดดีดเรงเหรงเหร่งเหร้ง ซอแหนแหน่แหน้จังหวะจะโคน | มโหรีรี่รี้ดีดสีเสียง ฆ้องสำเนียงเตงเต่งเต้งติงเหน่งโนน เสียงเหนงเหน่งเหน้งระนาดออกผาดโผน เสียงทับโทนโจ๋งทิงทิ่งทิ้งเลย |
๑.๕ บังคับเสียงสั้น-ยาว, หนัก-เบา
กลอน: ตะเข็บไต่ขอน
อุ อั อุ อั อุ อั อุ อั อุ อั อุ อั
บังคับใช้เสียงสั้น-ยาว หรือ หนัก-เบา ๖ คู่ สลับกันตลอดวรรค ซ้ำเสียงสระ ๒ คู่ ในคำคู่ที่ ๒-๓ กับ ๔-๕
สละสลดระทดระทวยระหวยระหาย จะแลจะเหลียวก็เปลี่ยวก็มืดก็จืดก็จาง เห็นเสือเห็นสิงห์กระทิงกระแทะอีแกะอีเก้ง พยัคฆ์ทยานก็รานก็ร้องก็ก้องก็อึง | จะย่างจะกรายจะยืนจะหยุดก็สุดจะหมาง จะแวะจะวางให้หวาดให้หวั่นให้พรั่นให้พรึง ก็โป่งก็เป่งระเห็ดระหันช่างขันช่างขึง ตะลานตะลึงก็รุงก็เริงก็เจิ่งก็จร |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
ระเหระหนกระวนกระวายระคายระคาง เพราะยลเพราะยินระบินรหัสสนัดสนั่น กระซิกกระซี้ขะรี้ขะรมระอมระอา | ระทวยระทดสลดสละขนิษฐ์ชนาง จะแรมจะร้างอนงค์อนาถนิราศนิรา จะเกียดจะกันก็สุดจะสอนจะวอนจะว่า จะไปจะมาระร่าระเริงตะเลิงตะลุย |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
เสลาสลอดสลับสล้าง สอึกสอะสอมสไอ มแฟ่มฟาบมเฟืองมไฟ ตขบตขาบตเคียนตคร้าน | สลัดได สอาดสอ้าน มแฟบมฝ่อ พ่อเอย ตคร้อตไคร้ตเคราตครอง |
(โคลงนิราศสุพรรณ)
๒.๑ ซ้ำคำต้นวรรคในลักษณะกระทู้ มีตั้งแต่กระทู้เดียว จนถึงกระทู้สี่คำ และมีทั้งใช้ กระทู้เดียวตลอดบท เปลี่ยนกระทู้ทุกวรรค เปลี่ยนกระทู้ทุกบาท ฯลฯ เป็นต้น
กลอน: บุษบงแย้มผกา
X O O O O O O O
ซ้ำคำแรกทุกวรรค
พระกุมารตรึกตรองทำนองปราชญ์ พระหน่อน้อมค้อมบังคมภิรมย์เริง พระกราบลาว่าข้าแต่แม่เจ้า พระคุณจงอำนวยช่วยอวยพร | พระจอมราชเจ้าคิดน้ำจิตรเถลิง พระเอี่ยมเองแอบองค์ประจงกร พระคุณเอ๋ยลูกนี้เล่าจะลาสมร พระคุณเจ้าฉันจะจรตามบิตุรา |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
โคลง: พยัคฆฉันทลรรโลง
X X O O O O O
กระทู้ ๒ คำ ต้นบาท และเปลี่ยนกระทู้ทุกบาท
ทรนุกได้ต้องบาท ทรลำมือไปพัน ทระนงว่าจอมขวัญ ทรโลดได้ต้องเจ้า | บัวจันทร์ พาดเหน้า รักพี่ โทษนั้นเรียมขอ |
(จินดามณี)
โคลง: พันธวีสติการ
บังคับให้วรรคต้น ของโคลงทุกบาทเป็นกระทู้ ช่วงละ ๔ คำ ๕ ช่วง โดยให้มีเสียงสัมผัสสระเป็นคู่
พี่ เย้า เจ้า หลบ | พบ สวาดิ์ คลาศ ภักตร์ | รัก ครวญ ป่วน อยู่ | ชู้ คนึง ถึง นาง | ช่าง นอน สมร ข้อง | วิงวอน แนบน้อง เสมอหนึ่ง เรียมนา คึ่งแค้นฤๅไฉน |
(จินดามณี)
โคลง: วิติมาลินี
บังคับกระทู้ ๑ คำ ต้นบาท โดยให้เป็นคำคล้องจอง
พี่ น้อง ซ้อง แซม | กำพร้าหน้าต่ำ เป็นดีมียศ ฦๅชาปรากฏ ซุมซนต้นเนื้อ | ออมอด ก่อเกื้อ โฉมแม่ เดียวแม่ บ่ให้เห็นองค์ |
(จินดามณี)
โคลง: ชลาสังวาลย์
บังคับกระทู้ ๑ คำ ต้นบาท ทุกบาท
แก้ว ชู้ กอง เงิน | แหวนน้องเกื้อมี ก่อของนองนันต์ ทองคอสบสรรพ์ เลื่อนหลังข้างเต้า | ทุกอัน แต่งเจ้า เศกแม่ แต่งขึ้นเรือนเรียม |
(จินดามณี)
โคลง: นารายณ์กางกรณ์
บังคับกระทู้ ๑ คำ ต้นบาท และท้ายบาท ทุกบาท
วัด ไป บา หา | วรนิเวศเรื้อ คัดวัดหวายเหลือ บึงรกแฝกเสือ แห่งตำแหน่งรู้ | รัง ค่า เป็น เรียกท้อง | เสือ คู้ ป่า นายาง |
(จินดามณี)
โคลง: สกัดกระทู้
บังคับกระทู้ ๑ คำ ต้นบาท และท้ายบาท โดยให้คล้องจองกันทุกบาท
ฝน นก เที่ยว ไป | ฟ้าคะครื้นคร่ำ ผาดโผนเกรียวกก ทางเหล้นผันผก ยากไปหาน้อง | เครง กู่ โทน พี่สู้ไป | ตก ร้อง ท่อง หา |
(จินดามณี)
โคลง: พระจันทร์ดั้นเมฆ
บังคับกระทู้ ๒ คำ ต้นบาท ทุกบาท
เที่ยงคืน เดือนดับ ป่าชัฏ ฝนตก | ดวงดาวเต้น กับสายใจ สงัดไพร นกร้องเร่ง | แขไข อยู่เหล้น ใครเพื่อน อยู่ด้วยสายสมร |
(จินดามณี)
โคลง: สถิตอัษฎาพรหม
บังคับกระทู้ ๓ คำ ต้นบาท ทุกบาท โดยให้คล้องจองกัน
ไม่เห็นน้ำ ด่วนตัดบอก ไม่เห็นรอก ก่งหน้าไม้ | ถ้าก่อน ปูนปัน มาขัน ไว้ให้ | ชวนกัน ส่วนได้ มือแม่น หย่อนแท้เสียสาย |
(จินดามณี)
โคลง: อรรคอักษร
บังคับให้นำคำในวรรคแรกของบาทต้น ไปแต่งซ้ำตลอดบท โดยไม่กำหนดจำนวนและตำแหน่ง
หนีเสือเสียเสื่อเสื้อ โอ้อาตม์หนีเสือเสีย หนีศึกมาพะเสือ เสียเสื่อเสียทั้งเสื้อ | เพราะเสือ เสื่อเสื้อ คืนเล่า ห่มเสื้อหนีเสือ |
(จินดามณี)
กลอน: ธงนำริ้ว
X X O O O O O O
ซ้ำ ๒ คำ ต้นวรรค เปลี่ยนกระทู้ทุกวรรค
ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง ดูดูก็น่าหัวตัวเต้นหยาว จริงจริงฤๅหนอที่ว่าสิ้นอาลัย | กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอถึง คิดคิดแล้วให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ ชะชะนางช่างเอาอายออกส่ายไส้ นี่นี่ใครให้สำนวนดูควรเป็น |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: บัวบานกลีบ
X X O O O O O O
ซ้ำ ๒ คำ ต้นวรรคทุกวรรค ใช้กระทู้เดียวตลอดจนจบความ
เสียดายพักตร์ผ่องเพียงเพ่งไพบูลย์ เสียดายเนตรดุจนิลมฤคีปาน เสียดายนาสาสุดดั่งแสงขอ เสียดายกรรณทันทัดกลีบสัตบง | เสียดายประยูรยอดกษัตริย์มหาศาล เสียดายขนงกงสมานคันศรทรง เสียดายศอเปรียบสร้อยคิวาหงษ์ เสียดายทรงส่งศรีระวีวรรณ |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: บัวบานกลีบขยาย
ลักษณะบังคับเหมือนบัวบานกลีบทุกประการ
เจ้างามเนตรประหนึ่งนัยนาทราย เจ้างามนาสายลดังกลซอ เจ้างามกรรณกลกลีบบุษบง | เจ้างามพักตร์ผ่องเพียงบุหลันฉาย เจ้างามขนงก่งละม้ายคันศรทรง เจ้างามศอเหมือนคอสุวรรณหงส์ เจ้างามวงวิลาศเรียบระเบียบไร |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: หงษ์ทองลีลา
ลูกเอ๋ย O O O O O O พ่อเอ๋ย O O O O O O
ซ้ำคำ ๒ คำ ต้นวรรคทุกวรรค คำที่ ๒ เป็นคำว่า เอ๋ย แยกกระทู้วรรคคู่ และกระทู้ วรรคคี่ วรรคคู่ใช้กระทู้เดียวตลอดข้อความ วรรคคี่ใช้กระทู้เดียวตลอดข้อความ
ลูกเอ๋ยแม่จะเล่าให้เจ้าฟัง ลูกเอ๋ยเมื่อแรกเริ่มเติมแต่ก่อน ลูกเอ๋ยพระบิตุรงค์ผู้ทรงฤทธิ์ ลูกเอ๋ยครองจัมบากพระเวียงไชย | พ่อเอ๋ยแม่จะตั้งอุทาหรณ์ พ่อเอ๋ยยังไม่จรมาอยู่ไพร พ่อเอ๋ยเรืองมหิศรศักดิ์ใหญ่ พ่อเอ๋ยเลื่องลือไปทุกภารา |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: จตุรงค์ประดับ
X X O O O O O O
ซ้ำ ๒ คำ ต้นวรรคทุกวรรค เปลี่ยนกระทู้ทุก ๔ วรรค
พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจ พระหน่อตรึกนึกคะเนคะนึงความ ไม่ควรคู่ผู้แสวงสวัสดิ์หวัง ไม่ควรเฉยเลยสละสลัดใด | พระหน่อคิดจิตรวาบระหวาบหวาม พระหน่อถามแจ้งกระจัดกระจ่างใจ ไม่ควรนั่งนิ่งตะลึงตะเลิงไหล ไม่ควรไทยจะชีวงชีวังวาย |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ทศประวัติ
X X เอ๋ย O O O O O
ซ้ำ ๓ คำ ต้นวรรค คำที่ ๓ เป็นคำว่า เอ๋ย เปลี่ยนกระทู้ทุก ๑๐ วรรค
โอ้อกเอ๋ยหวาดหวังจะวังเวง โอ้อกเอ๋ยสงสารพระมารดา โอ้อกเอ๋ยอาตมาในครานี้ โอ้อกเอ๋ยครั้นไม่ลามารดาจร โอ้อกเอ๋ยครั้นจะลามารดาเล่า พุทโธเอ๋ยพุทธองค์ทรงวัดวา พุทโธเอ๋ยได้ยศแล้วถดถอย พุทโธเอ๋ยเมื่อมีดีมั่งคั่ง พุทโธเอ๋ยยากจนแล้วคนหยาม พุทโธเอ๋ยรูปก็งามความก็รู้ | โอ้อกเอ๋ยครุ่นเครงจะครวญหา โอ้อกเอ๋ยอนิจจาจะอาวรณ์ โอ้อกเอ๋ยเอกีในไพรสอน โอ้อกเอ๋ยพระบิดรจะมรณา โอ้อกเอ๋ยแม่จะเศร้ากระศัลย์หา พุทโธเอ๋ยกายาไม่จีรัง พุทโธเอ๋ยเลื่อนลอยแล้วเหลียวหลัง พุทโธเอ๋ยเพื่อนสพรั่งพร้อมพรู พุทโธเอ๋ยมีแต่ความจะอดสู พุทโธเอ๋ยอับแล้วอู้อกระอา |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ภุมรินเชยทราบเกสร
X X O O O O O O
ซ้ำ ๓ คำวรรคทุกวรรค เปลี่ยนกระทู้ทุกบาท
ว่าพระคุณทูลเกล้าจักเศร้าโศก พระเจ้าพ่อจะทรงพิราไลย โอ้พระองค์ทรงเกล้าของลูกเอ๋ย พระปิ่นเกษอยู่ในป่ามหาพฤกษ์ | ว่าพระคุณจุลโลกจะลับไศล พระเจ้าพ่อจะพึ่งใครไฉนนึก โอ้พระองค์ไม่เคยในการศึก พระปิ่นเกษท้าวสถึกไม่ตรึกตรอง |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ดอกไม้พวงคำน้อง
X X X X O O O O
ซ้ำคำ ๔ คำ ต้นวรรค เปลี่ยนกระทู้ทุกบท (๔ วรรค)
หมู่นักสนมว่าแม่ร่มโพธิ์ทองทิพย์ หมู่นักสนมว่าแม่ร่มโพธิ์นากนาน ต่างต่างองค์ต่างทรงค่อนทรวงโลก ต่างต่างองค์ต่างทรงซึ่งโทมนัส | หมู่นักสนมว่าจะลิบครรไลสถาน หมู่นักสนมว่าลมกาลประหารพัด ต่างต่างองค์ต่างวิโยคแสนสาหัส ต่างต่างองค์ต่างอัดอั้นอุรา |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ดอกไม้พวงพู่ร้อย
ลักษณะบังคับเหมือนกับดอกไม้พวงคำน้องทุกประการ
นิจจาเอ๋ยกระไรน่าน้ำตากระเด็น แค้นใจเจ็บใจงมหลงลมล่อ แค้นใจเจ็บใจหนอเพราะเชื่อดี | นิจจาเอ๋ยกระไรเลยไม่เคยเห็น นิจจาเอ๋ยกระไรได้เช่นนี้ แค้นใจเจ็บใจหนอไม่พอที่ แค้นใจเจ็บใจกระจี้บัดสีใจ |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน; กวางเดินดง
O เอ๋ย O O O O O O
บังคับใช้คำว่า เอ๋ย ในคำที่ ๒ ทุกวรรค
ลูกเอ๋ยแม่จะจัดเอานกแก้ว ยูงเอ๋ยมาเป็นเพื่อนพ่อน้อยจร นกเอ๋ยนามชื่อว่านกโนรี กระเหว่าเอ๋ยแอบกระเวนกระเวียนรวน | นกเอ๋ยบินมาแล้วมาเลี้ยงสมร ยางเอ๋ยมาเยี่ยมร้อนที่เรียมครวญ เร็วเอ๋ยเรียบมานี่มาแนบสงวน นกเอ๋ยช่างชูนวลน่าชวนชม |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
๒.๒ ซ้ำคำในวรรคเดียวกัน
กลอน: คมในฝัก แบบที่ ๑
๑ ๒ ๓ ๑ ๕ ๖ ๗ ๘
ซ้ำคำที่ ๑ กับคำที่ ๔ ทุกวรรค
ช้างที่นั่งช้างทรงอลงกรณ์ ม้าที่นั่งม้าพยศบทลบอง รถที่นั่งรถทรงม้าทรงรถ จัตุรงค์จัดถ้วนกระบวนยุทธ์ | งวงงามงอนงวงงาผิวผุดผ่อง ว่องทำนองว่องไวพิชัยยุทธ์ สดสีสังข์สดร่าเริงสุด สุดแสนงามสุดกระบวนตาม |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: จักรวาฬ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ (๘ ๙) ๑
ซ้ำคำแรก กับ คำ สุดท้ายของวรรค
นายอำมาตย์ผู้ใหญ่ที่เป็นนาย จงจิตรมาถึงวังตั้งจิตรจง ดังที่ได้ทัศนามาเดิมดัง มูลเหตุเห็นประหลาดข้าบาทมูล | สงจิตรบ่ายบากจิตรคิดประสงค์ ทูลซึ่งองค์พระนเรศน้อมเกศทูล สูญความสังขาแต่บดีสูญ ก่อกองกูณฑ์อัคคีที่กองก่อ |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ครอบจักรวาล
ลักษณะบังคับเหมือนจักรวาฬทุกประการ
ความจริงใจนี่ไฉนจึงแหนงความ พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน | ขามจิตรคิดข้อหมางระคางขาม ควรจะถามก็ไม่ถามกันตามควร สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กำแพงแก้วมุขนั้น กระเบื้องปรุเคลือบด่วนดาม ที่ทางจะดำเนิน เกยย่อย่อขึ้นเยื้อง | แนวกำ แพงนา ดาษกระเบื้อง ในที่ มุขฤๅ เยี่ยงเกย |
(กรมพระปรมานุชิตชิโนรส: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
โคลง: สกัดแคร่ ชื่อ ทวาตรึงประดับ
ลักษณะบังคับเหมือนครอบจักรวาลทุกประการ
เนตรคมสมลักษณ์เนื้อ น้องจะวอนวานเชษฐ์ ส่องศรห่อนถูกเภท มาสบจบจวบห้อง | นิลเนตร เหนี่ยวน้อง เรียมส่อง ต่อเท้าวันมา |
(จินดามณี)
โคลง: สกัดแคร่
หนาวลมห่มผ้าห่อน ฟ้าพร่ำน้ำค้างพราว เด่นเดือนเกลื่อนกลาดดาว ใจเปล่าเศร้าซบหน้า | หายหนาว พร่างฟ้า ดวงเด่น นึกน้องหมองใจ |
(โคลงนิราศสุพรรณ)
โคลง: หมายกงรถ
ลักษณะบังคับเหมือนครอบจักรวาลและสกัดแคร่ทุกประการ
กินกล้วยกินเบื่อแล้ว เข้าคิดฤควรยิน เข้าไปเพื่อวอนวิน นอนที่ใดใดเข้า | ยังกิน ยิ่งเข้า คู่เข้า สุดค้นเคยนอน |
(จินดามณี)
โคลง: ยมก
บังคับกระทู้ ๑ คำ ต้นบาท และซ้ำคำ ๒ คำ เลื่อนตำแหน่งทุกบาท
ฦๅ ชา ปรา กฏ | ฤทธิ์ฤทธิ์ราชเรื้อง พระยศยศยง รถพระองค์องค์ พระเกียรติไว้ไว้ | รณรงค์ ยิ่งไท้ ราเมศ กว่าม้วยเมื่อกัลป์ |
(จินดามณี)
กลอน: มยุราฟ้อนหาง
๑ ๑ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๗
บังคับซ้ำ ๒ คำต้นวรรค และ ๒ คำ ท้ายวรรค
หวลหวลเจ้าครวญหาว่ากำม์กำม์ ให้ให้เราร้างรักอยู่นานนาน มองมองแม่แลเห็นยิ่งหวลหวล ก้องก้องแจ้วแก้วลูกเจ้ากล่าวเอียงเอียง | อกอกเอ๋ยเวรมาจำจองผลาญผลาญ. จอมจอมนาฏราชกุมารคลานเมียงเมียง จิตรจิตรร้อนอ่อนไรรวนครวญเสียงเสียง หมอบหมอบแม่แลเมียงเสียงอ่อนอ่อน |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: งูกินหาง
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ( ๖ ๗ ) ๑ ๒ ๓
บังคับซ้ำคำ ๓ คำ ต้นวรรค กับ ๓ คำ ท้ายวรรค เลื่อนรับสัมผัส ระหว่างวรรค ไปรับในคำที่ ๕
อำมาตย์น้อมอภิวาทอำมาตย์น้อม ทูลลาบ่ายบากหน้าทูลลาบ่าย สพรั่งพร้อมมานั่งสพรั่งพร้อม ประชุมกันขุดหลุมประชุมกัน | บังคมถวายกายพร้อมบังคมถวาย จัดแจงกันผันผายจัดแจงกัน ให้จัดสรรกันล้อมให้จัดสรร โดยเร็วไวฉับพลันโดยเร็วไว |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: งูกลืนหาง
ลักษณะบังคับเหมือนงูกินหางทุกประการ
กระไรเลยช้ำใจกระไรเลย สงสารนุชสุดแสนสงสารนุช รันทดใจให้สลดรันทดใจ | โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล จะโหยให้ไหนจะหยุดจะโหยไห้ ต้องไกลจรทำไฉนต้องไกลจร |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: สารถีชักรถ แบบที่ ๑
๑ ๒ ๓ ๔ ๔ ๔ ๖ ๗ ๑ ๒
ซ้ำคำ ๒ คำต้นวรรค กับ ๒ คำท้ายวรรค และซ้ำคำกลางวรรคอีก ๑ คู่
สังเวชจิตรคิดคิดมาน่าสังเวช ต้องมัดผูกผูกจำจองมาต้องมัด สงสารเอ๋ยคิคิมาน่าสงสาร เป็นนิ้วแนวแนวในกายลายเป็นนิ้ว | สาหัสเศษเศษสาแสนสาหัส เป็นริ้วตัดหลังทลายลายเป็นริ้ว ผ่องผิวพาลพาลแต่ก่อนอ่อนผ่องผิว เดินมาหินหกระเหินด้วยเดินมา |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: สารถีชักรถ แบบที่ ๒
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๑ ๒
ซ้ำคำ ๒ คำต้นวรรค กับ ๒ คำท้ายวรรค
ประมาณจิตรผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ สุจริตคิดว่าตรงคงสุจริต กลับกลายเกลื่อนเงือนงามความกลับกลาย | สงสารกายหมายมิตรคิดสงสาร เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้าเสียดาย ไม่หมายจิตรเลยว่าใจจะไม่หมาย สัญญาไว้ไยไม่วายคำสัญญา |
(หลวงนายชาญภูเบศร์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: พระจันทร์ทรงกลด
๑ ๒ ๓ ๓ ๕ ๖ ๑ ๒
ซ้ำคำ ๒ คำ ต้นวรรค กับ ๒ คำ ท้ายวรรค และซ้ำคำที่ ๓ กับ ๔ อีก ๑ คู่
ดาบสน้อยน้อยหน่อเนื้อเชื้อดาบส แจ้งเจนไพรไพรพงจิตรแจ้งเจน หลายวันเดิรเดิรมาได้หลายวัน ระกำกายเลื่อยล้ามาระกำ | ผ่องเผ่นภักตร์ภักตร์ทรงกลดงามผ่องเผ่น ยามย่ำเย็นเย็นนอนไพรยามย่ำ อุปถัมภ์นั้นนั้นไม่มีที่อุปถัมภ์ ถึงแดนจำจัมบากหน้ามาถึงแดน |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: หงษ์คาบพวงแก้ว
๑ ๒ ๓ ๓ ๕ ๖ ๖ ๘ ๙
ซ้ำคำ ๒ คู่ ในคำที่ ๓-๔ และ ๖-๗ ทุกวรรค
จักกลับกล่าวกล่วถึงมิ่งมิ่งเมียขวัญ ไม่วายทุกข์ทุกข์ถึงจอมจอมโมลี อยู่ในไพรไพรระหงแดนแดนดงหลวง จนเนิ่นนานนานเลื่อนนับนับเดือนมา | นับแต่วันวันแสนโศกโศกเศร้าศรี แสนสุดที่ที่ทุกข์ถึงถึงภัสดา ให้เปลี่ยวทรวงทรวงนางร่ำร่ำไห้หา อยู่ในป่าป่าไพรสัณฑ์สันโดษเดี่ยว |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: รักร้อย
๑ ๒ ๓ ๓ ๕ ๖ ๗ ๘
ซ้ำ ๒ คำ ต้นวรรค เปลี่ยนกระทู้ทุกวรรค
ยังมีเมืองเมืองใหญ่หนึ่งไพบูลย์ อันจอมท้าวท้าวไทนามใจกล้า เที่ยวปราบหมู่หมู่มหาประชาราษฎร์ อันนามท้าวท้าวก็ไม่ได้ปรากฏ | พร้อมสกูลสกูลวงษ์ทั้งพงษา เธอเตรียมการการมหาโยธายศ ใจฉกาจฉกาจล้ำเกินกำหนด โดยจะจดจดนามตามนคร |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
โคลง: บุษบารักร้อย
ลักษณะบังคับเหมือนกับรักร้อยทุกประการ
มีรูปเหยี่ยวเหยี่ยวตั้ง ทกที่มุมมุมของ ป้านลมจับจับไสว กระเบื้องประดับดับถ้วยไสร้ | ตามไตร มุขนา เขตต์นั้น แสวงเหยื่อ เยี่ยงเฮย สบสรรพ์ |
(กรมพระปรมานุชิตชิโนรส: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: คุลาซ่อนลูก แบบที่ ๑
๑ ๒ ๓ ๓ ๕ ๖ ๗
ลักษณะบังคับเหมือนรักร้อยทุกประการ แต่จำนวนคำในวรรคใช้วรรคละ ๗ คำ
พระปิตุเรศปิตุเรศสังเวชบุตร ไม่ฟังคำคำจำนิยม นายเพ็ชฌฆาฎก็มาทหมาย จึงปลดเปลื้องเครื่องจำพร้อม | ก็แสนสุดสุดนิยมสม พระทรงกรมกรมระทมกรอม ฉกาจร้ายร้ายไม่ถดถ่อม จากพระจอมจอมกระหม่อมจริง |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: กินนรเก็บบัว
๑ ๒ ๓ ๔ ๓ ๖ ๗ ๘
ซ้ำคำที่ ๓ กับ ๕ ทุกวรรค
สั่งทัพเสร็จทัพแล้วรับสั่ง ให้ดูฤกษ์ยกฤกษ์จะเบิกทัพ พิเคราะห์วันหาวันวันธงไชย พระกาลปลอดห่วงปลอดมิตยู | ให้โหรตั้งหาตั้งคูณหารนับ พวกโหรจับหาจับตำรับครู ได้ฤกษ์ใหญ่ยามใหญ่ปลอดราหู บ่ายหน้าสู่ผินสู่หมู่เทวา |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
เช็ดหน้าบานหน้าวาด แทตย์แบกแท่นแบกพบู ทูนเทพรูปเทพสถิต มุขนอกมุขหน้าห้อง | วิจิตร อุไรฤๅ เบี่ยงถ้า ทายเทิด ขรรค์เอย แห่งละสอง |
กลอน: นกกางปีก แบบที่ ๑
๑ ๒ ๓ ๒ ๕ ๖ ๗ ๘ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๔ ๗ ๘
๑ ๒ ๑ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๑ ๒ ๓ ๒ ๕ ๖ ๗ ๘
บังคับซ้ำคำ ๑ คู่ โดยมีคำอื่นคั่นกลางทุกวรรค โดยไม่ซ้ำตำแหน่งกัน มีลักษณะเหมือนนกกางปีกบิน
สองกระษัตริย์กระศัลย์ให้รันทด ต่างองค์ต่างทรงโศกาลัย สองทรงแสนทรงโศกสงสาร มากลิ้งทับกลับทับอุทรทรวง | แสนกำสรดสุดคิดสุดพิไสมย พระภูวไนยภูวนารถให้หวาดทรวง ดั่งจะลานชีพดั่งภูเขาหลวง เหมือนศรร่วงศรแรงมาแผลงลาญ |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: พยัคฆ์ข้ามห้วย
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ( ๘ ๙ ) ๓
บังคับซ้ำคำที่ ๓ กับคำท้ายวรรคทุกวรรค
ครั้นถึงเมืองตั้งค่ายไว้ใกล้เมือง จนล่วงแดนเกือบถึงพ้นกึ่งแดน ให้ตั้งค่ายรายเรียบระเบียบค่าย จับมฤคาแล่นไล่มฤคา | นับหมื่นแสนแน่นเนื่องโยธาแสน พวกโยธาหนาแน่นแสนโยธา ตั้งนักขาพยัคฆ์รายซ่อนนักขา ดูดั่งมังกรง่าหัตถากร |
กลอน: ตรีพิธพรรณ
O X O O X X O O หรือ O X X O X O O O
หรือ O X O X O X O O
บังคับซ้ำ ๓ คำ ทุกวรรค โดยไม่กำหนดตำแหน่ง
นางศรียอดศรีศรีระมะดี ขึ้นเหนือเศียรอ่อนเศียรน้อมเศียรทอด ว่าโอ้พระพระองค์พระทรงเกล้า จะละน้องน้องจักนองเทวศวัน | อัญชุลียกชุลีชุลีสอด พระกายกอดบาทร่ำร่ำรำพรรณ์ ผู้เป็นเจ้าจอมเจ้าเจ้ามิ่งสวรรค์ จักครวญครันโศกโศกแสนโศกทรวง |
ไม่เจียมกายกายแก่ทำกายตะกอ เที่ยวสืบข่าวสาวสาวที่สาวสวย พอผินพักตร์พบพักตร์ประสานพักตร์ | สังเวชจิตรเอยจิตรจิตรเราหนอ ดีแต่ก้ออวดก้อก้อเกินนัก เห็นรูปรวยรื่นรวยสำรวยหนัก เวียนถามทักเราไม่ทักขึ้นทักทาย |
(หลวงนายชาญภูเบศร์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
๒.๓ ซ้ำคำข้ามวรรค
กลอน: สร้อยสนแบบที่ ๑
๑ ๒ ๓ ๓ ๕ ๖ ๗ ๘ ๘ ๒ ๓ ๓ ๕ ๖ ๗ ๘
บังคับซ้ำคำในวรรค ๑ คู่ คือคำที่ ๓ กับคำที่ ๔ และซ้ำคำสุดท้ายของวรรคแรกกับต้นวรรคต่อไป
พ่อยอดยิ่งยิ่งอนงค์ยุพงษ์สวัสดิ์ แผ่ผิวผ่องผ่องภักตร์เมื่อภักตร์แปร องค์พระมิ่งมิ่งหวังจะตั้งพระนาม ประสงค์เอาเอาพระนามตามบิตุรงค์ | สวัสดิ์จิตรจิตรจัดจองผ่องผิวแม่ แปรภักตร์แลแลเอี่ยมเสงี่ยมองค์ นามตั้งตามตามชื่อเมื่อประสงค์ บิตุรงค์พระองค์องค์ตั้งทั้งชื่อนาง |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: สร้อยสนแบบที่ ๒
๑ ๒ ๒ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๘ ๒ ๒ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
บังคับ ซ้ำคำในวรรค ๑ คู่ คือคำที่ ๒ กับคำที่ ๓ และซ้ำคำสุดท้ายของวรรคแรกกับต้นวรรคต่อไป
ถวิลหวังหวังสวาทยุพาพิน อาวรณ์หวังหวังจะฝากไมตรีจิตร์ สมรหมายหมายมุ่งพะงางอน | สารศรีศรีสวัสดิ์อาวรณ์ถวิล ยุพินพี่พี่นี้จินตนาวรณ์ จิตร์จงจงมิตรสมัครสมร พงางามงามอรไม่เอออวย |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: วัวพันหลัก
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๘ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
บังคับ ซ้ำคำท้ายวรรคแรกกับคำต้นวรรคต่อไปทุกวรรค
อันเรื่องราวดาวบศสร้างพรตทรง ศรีโรราบกราบไหว้เปลวอัคคีมี จีวรแห่งพระปัจเจกพุทธองค์ สอนดวงจิตรทิฎฐิแต่ก่อน | ทรงจำนงน้อมกรอ่อนเศียรศรี มียินดีนึกหมายชายจีวร องค์ท้าวทรงจิตรจำคำสั่งสอน ก่อนสั่งสอนฤๅษีย่อมมีมา |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
โคลง: วัวพันหลัก
ตักศิลาจารึกข้อ โคลงบอกเรื่องเลขา แจ้งอรรถวัจนจรรโลง ทุกแห่งทั่วห้องแสร้ง | คำโคลง ไว้เฮย คัดแจ้ง ลักษณ์ทุก หลังแฮ สายประกล |
โคลง: นาคเกี่ยวชั้นเดียว
ลักษณะบังคับเหมือนวัวพันหลักทุกประการ
ประสงค์คงชื่อต้อง ศักดิ์ประสงค์จงรัก ไว้แน่และแม้จัก ชีพก็ยอมเสียได้ | สงวนศักดิ์ สัตย์ไว้ เสียชีพ เพื่อไว้สัจจัง |
(โคลงพระราชนิพนธ์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว)
กลอน: เมขลาโยนแก้ว
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๗ ๘ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
บังคับ ซ้ำคำท้าย ๒ คำ ท้ายวรรคแรกกับ ๒ คำ ต้นวรรคต่อไปทุกวรรค
เหหักรานถ้อยคำทำลังเล กระบวนบิดคิดเห็นดอกเช่นคิด กลั้นสรวลกันฉันใดไฉนนวล | โอ้แสนเสน่เหหักรักหักเห ลังเลเทธิบายบ่ายเบี่ยงกระบวน เช่นคิดปิดความควันก็กลั้นสรวล ไฉนนวลที่มีควรก็ควรตรอง |
กลอน: ม้าเทียมรถ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๗ ๘ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
ลักษณะบังคับเหมือนกัลป์เมขลาโยนแก้วทุกประการ
คิดถึงวันประสบทักเห็นพักตร์ตึง อำความเคืองเรื่องร้อนอะไรเจ้า วอนถามซักนักก็เกรงพะงางาม | แสนอาวรณ์นอนนั่งตั้งคิดถึง พักตร์ตึงจึงอิดอ้อนเป็นอำความ อะไรเจ้าที่เฝ้าให้ว่าวอนถาม พะงางามว่าจะตามเฝ้ารบกวน |
(ขุนธนสิทธิ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
โคลง: ต่อต้ำ หรืออลงกฏ
บังคับ ซ้ำคำ ๒ คำ ท้ายบาท กับ ๒ คำ ต้นบาทต่อไป
ฦๅพระยศเลื่องทั่ว ไตรยเทพอรอวยไชย เลิศแล้วยิ่งยงใน ภูวโลกนี้พระแก้ว | แดนไตรย เลิศแล้ว ภูวโลก เลิศล้ำองค์เดียว |
(จินดามณี)
๒.๔ ซ้ำคำใดคำหนึ่งตลอดบท โดยไม่กำหนดตำแหน่ง
กลอน: พวงแก้วกุดั่น
ดูที่ดูชู้ในน้ำใจคอ จะดูมวยดูปล้ำดูรำเต้น ดูที่มีชั่วทั่วชมพู | จำรักดูจะใคร่ดูอะไรหนอ ดูที่พอใจรักจักอยากดู ดูเจ้าเซ็นงิ้วหนังยังไม่อู๋ ดูไม่สู้ดูชู้ที่ชู้ใจ |
๒.๕ ซ้ำคำถอยหลังในวรรคเดียวกัน
กลอน: คมในฝัก แบบที่ ๒
๑ ๒ ๓ ๓ ๒ ๑ ๗ ๘ ๙
บังคับซ้ำคำถอยหลัง ๓ คำ แรก กับคำที่ ๔-๕-๖ ทุกวรรค
สองใจเป็นเป็นใจสองต้องหมองเมิน ว่าหวังรักรักหวังว่าจะช้าชื่น ชิดเชยกลิ่นกลิ่นเชยชิดยังติดกาย | ปางเริ่มรักรักเริ่มปางจะห่างเหิน เขินขามคิดคิดขามเขินสเทินอาย รื่นรวยรสรสรวยรื่นเร็วคืนหาย วายว่างเว้นเว้นว่างวายเสียดายที |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: กลมกลืนกลอน แบบที่ ๑
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๕ ๔
บังคับซ้ำคำถอยหลัง ในคำที่ ๔-๕ กับคำที่ ๗-๘ ทุกวรรค
นกบินมาราร่อนแล้วร่อนรา อยู่แห่งใดจรแจ้งไม่แจ้งจร จะแจจะจอแจ้วจำเสียงจ๋าแล้ว พระน้องเอ๋ยมาเถิดเชิญเถิดมา | บรู้ว่าสมรนาฏพระนาฏสมร สกุณร่อนราปีกแล้วปีกรา เหมือนเสียงแก้วหาพี่ตามพี่หา ครองภาราไชยเรืองให้เรืองไชย |
โคลง: สกัดแคร่ ชื่อ ทวารประดับ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๒ ๑
บังคับซ้ำคำถอยหลัง ๒ คำ ต้นบาทกับ ๒ คำ ท้ายบาท
ลางวันฟังข่าวร้าย ร้อนยิ่งไฟฟอนฟาง ข่มสุดโศกบ่วาง กรรมกูฉันใดย้อน | วันลาง ยิ่งร้อน สุดข่ม ขืนนา ซัดให้กูกรรม |
(จินดามณี)
โคลง: สารถีขับรถ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๒ ๑
ลักษณะบังคับเหมือน สกัดแคร่ ชื่อ ทวารประดับ ทุกประการ
แถวเขตต์ตะวันตกข้าง น้ำช่วงหน้าวัดชาย ก่อฉนวนเนื่องเนินแนว ดูลิ่วตระหลอดน้ำล้ำ | เขตต์แถว นั้นนา ช่วงน้ำ ฉนวนก่อ อิงเอย ลิ่วดู |
(กรมพระปรมานุชิตชิโนรส: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
อินทรวิเชียรฉันท์: สารถีขับรถ
ทรงศรีวิสิฐฐา- งามยิ่งพระยศยง ยามยุคนิยมกาล ไทยรัฐจรูญนาม | นะพระราชศรีทรง สิริบงพระยิ่งงาม กลจาร ณ ยุคยาม ก็เพราะรามณรัฐไทย |
(สมเด็จพระภัทรมหาราชคำฉันท์)
โคลง: สารถีขับรถ แบบที่ ๓
ลักษณะบังคับเหมือนสารถีขับรถ และสกัดแคร่ชื่อ ทวารประดับ ทุกประการ
ทางไทยคอยข่าวข้าง ได้ข่าวแมวมองตาม ซุ่มซ่อนเสือป่าพราง ตรงลิ่วมาแล้วใกล้ | ไทยทาง เหนือนา ข่าวได้ ซ่อนซุ่ม ลิ่วตรง |
(ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ)
กลอน: มังกรคายแก้ว
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๒ ๑
บังคับซ้ำคำถอยหลัง ๒ คำ ต้นวรรค กับ ๒ คำ ท้ายวรรค ทุกวรรค
นายเพ็ชรฆาฎมาทในใจเพ็ชนาย เวียนถึงที่ป่าช้าพาถึงเวียน ให้กายแหงนแอ่นคองอกายให้ กัดฟันกรอดออดอึกกึกฟันกัด | เสถียรบ่ายบากหน้าพาเสถียร มัดผูกเนียนกับหลักชักผูกมัด หัดฝึกได้ชำนาญการฝึกหัด รำดาบจัดจ้องท่าร่าดาบรำ |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: มังกรคาบแก้ว
ลักษณะบังคับเหมือนกับมังกรคายแก้วทุกประการ
นานคะนึงเสน่ห์นวลคะนึงนาน โศกถวิลกินเทวษถวิลโศก ปีกว่าปานประมาณไว้ได้กว่าปี | สารสงวนควรมิตรสงวนสาร ทวีทุกข์เหลือที่ทานทนทุกข์ทวี พี่ห่างน้องต้องวิโยคด้วยห่างพี่ แลสุดที่พำนักนุชพี่สุดแล |
(กรมหมื่นไกรสรวิชิต: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: ฉัตรสามชั้น
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๓ ๒ ๑
บังคับซ้ำคำถอยหลัง ๓ คำ ต้นวรรค กับ ๓ คำ ท้ายวรรค ทุกวรรค
ในการเมื่อพระยาพาลเมื่อกาลใน จวนใจคิดผิดจิตรคิดใจจวน ไปตกที่อวิจีที่ตกไป บ่ายบากพาโพธิสัตว์พาบากบ่าย | หวนหันให้ใจคิดฝันให้หันหวน วายวอดควรม้วยมอดควรวอดวาย ฝ่ายนาคที่เป็นใหญ่ที่นาคฝ่าย จรจากผายผันที่ผายจากจร |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: ม้าลำพองแบบที่ ๑
ลักษณะบังคับเหมือนฉัตรสามชั้น ทุกประการ
เช้าเมื่อยามรุ่งเรืองยามเมื่อเช้า จรเมืองในเสด็จในเมืองจร ต่างต่างมาแต่งตัวมาต่างต่าง วนวุ่นแวงแครงครุ่นแวงวุ่นวน | ผ่อนผันเข้าเขตรขันธ์เข้าผันผ่อน ชนหญิงชายชาวนครชายหญิงชน สนเสือกวางวิ่งมาวางเสือกสน ชมชวนชนต่างคนชนชวนชม |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: กระแตไต่ไม้
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๓ ๒ ๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๒ ๑
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๓ ๒ ๑
บังคับซ้ำคำถอยหลังต้นวรรค กับท้ายวรรค ทุกวรรค และซ้ำลดจำนวนลงตั้งแต่ ๓-๒-๑
เศร้าหมองทรงยุพยงทรงหมองเศร้า ครุ่นครั้นหวังฟังบุตรสุดแสนครุ่น สุดจิตรห้ามสามจนจิตรสุด ใจเกรงคิดจิตรละเวงคิดเกรงใจ | หุนหวนเจ้าสุดแค้นแสนหวนหุน ในใจแค้นแสนวุ่นแค้นในใจ ไฉนบุตรสุดคิดน้ำจิตรไฉน พรอวยไชยให้บุตรสุดอวยพร |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
กลอน: นกกางปีก แบบที่ ๒
ซ้ำคำถอยหลัง ๒ คู่ ทุกวรรค โดยไม่ซ้ำที่กัน
ฉันใดจะได้ชมชิดชิดชมเชย แต่ได้เห็นโฉมงามงามโฉมเฉลิม สวาทแสนแสนสวาทเพียงขาดใจ | แสนรักร้อนร้อนรักหนักอกเอ๋ย ไม่ลืมเลยเลยลืมปลื้มอาลัย ก็พูนเพิ่มเพิ่มพูนจิตรพิสมัย ก็คิดไฉนนี่นี่ไฉนนะอกอา |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: กลมกลืนกลอน(กลบกลืนกลอน) แบบที่ ๒
X X ๓ ๔ ๕ ๖ ๕ ๔
บังคับกระทู้ ๒ คำ ต้นวรรคทุกบาท โดยเปลี่ยนกระทู้ทุกบท และซ้ำคำถอยหลังคำที่ ๔-๕ กับ ๒ คำ ท้ายวรรคทุกวรรค
แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย คิดถึงเหลือเมื่อครั้งสุขครั้งเมื่อ คิดถึงเคยนอนแนบนางแนบนอน | แสนเสียดายหายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายงามงอนเจ้างอนงาม คิดถึงเนื้ออ่อนเนื้ออุ่นเนื้ออ่อน คิดถึงจรจำใจจากใจจำ |
(หลวงนายชาญภูเบศร์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
๒.๖ ซ้ำคำถอยหลังข้ามวรรค
กลอน: ถอยหลังเข้าคลอง
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ( ๙ ) ( ๙ ) ๘ ๗ ๖ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑
บังคับให้วรรคที่ ๒ ซ้ำคำถอยหลังจากวรรคแรก ทุกบาท
โพยมแจ่มจันทร์เปรียบพอเทียบทัน โฉมฉะอ้อนอัปสรทรงเสมอสมร ฤๅทัยโทโทรมเศร้าประเล้าประโลม | เจ้างามสรรพสรรพางค์ดังนางสวรรค์ ทันเทียบพอเปรียบจันทร์แจ่มโพยม สมรเสมอทรงอัปสรฉอ้อนโฉม ประโลมประเล้าเศร้าโทรมโทมฤทัย |
(พระราชนิพนธ์: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: นาคเกี่ยวกระหวัด
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๘ ๗ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
บังคับซ้ำคำถอยหลัง ๒ คำท้ายวรรคแรก กับ ๒ คำต้นวรรคต่อไป ทุกวรรค
พระปิตุรงค์ฟังบุตรเห็นสุดห้าม หาญสุดไม่หยุดยั้งจะรั้งราญ บุตรเวทนาถึงพ่อก็คลอเนตร สุดแสนแค่นแค้นใจดังไฟจุด | ห้ามสุดความคิดบุตรเห็นสุดหาญ ราญรั้งนานแน่วเนตรสังเวชบุตร เนตรคลอเวทนาแน่นก็แสนสุด จุดไฟรุทใจร้อนดั่งศรราน |
(ศิริวิบุลกิตติ์)
โคลง: นาคพันธ์ ชื่อ สนธิอลงกฏ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ( ๐ ๐ )
๗ ๖ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗
บังคับซ้ำคำถอยหลัง ๒ คำท้ายบาทแรก กับ ๒ คำหลังทุกบาท เหมือนกับนาคเกี้ยวกระหวัด
ฝนตกนกร้องร่ำ ครางครวญถึงนวลนาง เศร้าโศกร่ำแต่ปาง จากไปเรียมไฉนเจ้า | ครวญคราง โศกเศร้า ไปจาก พี่เพี้ยงตรอมตาย |
๓.ชนิดบังคับทั้งเสียงทั้งคำ
กลอน: นารายณ์ประลองศิลป์
บังคับซ้ำคำและซ้ำเสียงพยัญชนะเหมือนกับพิณประสานสายทุกประการ แต่ซ้ำเสียงสระ เพียง ๒ คู่ คือในคำที่ ๒-๓ และ ๔-๕ ส่วนคำที่ ๘-๙ ไม่แน่นอน
ทำรอพ้อทำฤทธิ์พิษทำรานพาล เฉลียวเลี้ยวชะลอล่อแฉลบแหลม ฉนางช่างไฉนใช่ชนวนชวน | สำเนียงเสียงสำนวนสรวลสำเนาสาร ประเมิณเกินประมาณการประมวลกวน ทำแนมแซมทำนองซ้องทำน่าสรวล กระบวนทวนกระบอยถ้อยกระบิดทำ |
กลอน: จตุรงคนายก
๑ X ๑ X ๑ Y ๑ Y
บังคับซ้ำคำที่ ๑, ๓, ๕ และ ๗, ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๒ คู่ ในคำที่ ๒ กับ ๔ และคำที่ ๖ กับ ๘ ซ้ำเสียงสระในคำที่ ๔ กับ ๖ ทุกวรรค
จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดั่งดาวดั่งเดือนดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย ช่างปลอดช่างเปลื่องช่างเรืองช่างรุ่ง | ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง พิศแช่มพิศช้อยพิศสร้อยพิศสุง ทรงแดงทรงดุ่งทรงวุ้งทรงแวง |
กลอน: เสือซ่อนเล็บ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๒ ๘
บังคับซ้ำคำที่ ๒ กับคำที่ ๗ ซ้ำเสียงสระ ๒ คู่ ในคำที่ ๓-๔ และ ๕-๖ ทุกวรรค
ตัวเราคิดพิสไมยใจเราหาย แทนคุณท้าวสนองจองคุณเจิง จักแลกเปลี่ยนเจียนองค์ปลงแลกจิตร ท่านผู้เชิดเลิศชื่อฦๅผู้ชาย | เอาจิตรกายบ่ายบากหากจิตรเถลิง เราผู้เริงเชิงอาจชาติผู้ชาย แลกกายคิดติดต่อก่อกายหมาย จับเราบ่ายกายหนาพาเราไป |
กลอน: ดุริยางคจำเรียง
๑ ๑ ๓ ๔ ๔ ๖ ๗ ๗ ๙
บังคับซ้ำคำ ๓ คู่ ในคำที่ ๑-๒,๔-๕ และ ๗-๘ ซ้ำเสียงสระ ๒ คู่ ในคำที่ ๓-๔ และ ๖-๗ ทุกวรรค เลื่อนรับสัมผัสไปรับในคำที่ ๖
หวั่นหวั่นจิตรคิดคิดไปใจใจหวล ท้าวท้าวแนบแอบแอบน้องย่องย่องจร เสียงเสียงนกกกกกคู่คูคูขัน แจ้วแจ้วจ้าร้าร้าร้องก้องก้องไพร | อ่อนอ่อนท้อรอรอรวนนวลนวลสมร เหนื่อยเหนื่อยนอนขอนขอนไม้ใต้ใต้ไพร จักจักกระจั่นกลั่นกลั่นเกลี้ยงเกลี้ยงใส เรเรไรใสใสเสียงเกลี้ยงเกลี้ยงกลม |
กลอน: ฟักพันร้าน
๑ X Y X Y X ๑
บังคับซ้ำคำแรกกับคำท้ายวรรค ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๒ เสียง สลับกันตลอดวรรค และซ้ำเสียงสระ ๒ คู่ ในคำที่ ๒-๓ และ ๔-๕ ทุกวรรค บังคับจำนวนคำวรรคละ ๗ คำ
มิตรเชือนเหมือนใช่ไม่เช่นมิตร หนักทรวงหน่วงสารนาสื่อหนัก เพื่อนใจใฝ่เจ้าเฝ้าเชือนเพื่อน | จิตรแหนงเจ้าในใจหนักจิตร เบือนจิตรบิดจากบากใจเบือน เหมือนจิตรมิตรจักมักจักเหมือน |
(พระองค์เจ้าคเนจร: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ)
กลอน: นาคบริพันธ์
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ X ๖ ๗ X ๓ ๔ ๖ ๗ X
บังคับซ้ำคำที่ ๖, ๗ ในวรรคแรกกับ ๒ คำแรกใสวรรคถัดไป และซ้ำเสียงพยัญชนะในคำสุดท้ายของวรรคแรกกับคำที่ ๓ ของวรรคถัดไปทุกวรรค เลื่อนรับสัมผัสนอกไปรับในคำที่ ๖
กรุงกระษัตริย์ชัดคำโหรทำนาย อาไลยเสียงเหลียวหลังให้คั่งคูน ด้วยดวงจอมสุดาโหราทาย พระไทยหวังสังเกตสังเวชครัน | โหรทำนูนทูลหมายอาไลยสูญ ให้คั่งแค้นแน่นหนูนด้วยดวงจันทร์ โหราทูลว่าร้ายพระไทยหวั่น สังเวชครุ่นจิตรมั่นเอาขันตี |
โคลง: นาคบริพันธ์
รับพรพระสั่งแล้ว ลีลาศสู่ปรางคืน เขตหอส่ำสนมมา เมียงหมอบมวลพร้อมร้อง | ลีลา เขตห้อง เมียงม่าย ร่ำครวญ |
กลอน: ม้าลำพองแบบที่ ๒
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑
บังคับซ้ำคำถอยหลัง ๔ คำ ต้นวรรค กับ ๔ คำ ท้ายวรรค ซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำซ้ำเสียงสระในคำที่ ๓-๔ และ ๖-๗
แค้นเคืองคิดจิตรเจ็บจิตรคิดเคืองแค้น น้องแหนงหน่ายคลายรักคลายหน่ายแหนงน้อง จางเจื่อนจริงหญิงเอ๋ยหญิงจริงเจื่อนจาง | แสนโศกทรวงหน่วงหนักหน่วงทรวงโศกแสน นางทดแทนแม่นหมายแม่นแทนทดนาง หมางจิตรหมองจิตรมีจิตรหมองจิตรหมาง รวนเรร้างค้างเขินค้างร้างเรรวน |
๔. กลบทชนิดบังคับอักขรวิธี ได้แก่กลบทที่นำเอาอักขรวิธีไทย เช่น การใช้สระ, พยัญชนะ, วรรณยุกต์, มาตราตัวสะกด ฯลฯ มาบังคับใช้
กลอน: ถาวรวธิรา
บังคับให้มีคำใช้ไม้ม้วนทุกวรรค โดยไม่กำหนดจนวนและตำแหน่งของคำ
กล่าวถึงมเหสีที่อยู่ใน อนาถใจถึงพระองค์พระภัสดา พ่อเนื้อทองผ่องใสสุดใจเอ๋ย ให้แม่ทุกข์ทุเรศเทวศวอน | อรัญใหญ่องค์เดียวอนาถา ให้โศกาถึงบุตรสุดอาวรณ์ มาละเลยแม่เสียในศิงขร บเห็นมิ่งดวงสมรแม่ร้อนใจ |
กลอน: โสภณาอนุกูล
บังคับให้มีคำใช้ไม้มลายทุกวรรค โดยไม่กำหนดจำนวนและตำแหน่งของคำ
โอ้พระร่มโพทองของน้องไฉน ตั้งแต่ท้าวไปจากน้องพรากองค์ เมื่อยามเสวยเสวยชลเนตรไหล พระจอมไทไกรจักรหลักโลกา | ไม่เห็นไทกลับหลังดังประสงค์ อาไลยทรงโศกเศร้าร้าวอุรา ดังฟอนไฟไหม้อกหมกมุ่นหา อนาถายากไร้หมดไพร่พล |
กลอน: อุภะโตโกฏิวิลาศ
บังคับให้ใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกันตลอดวรรค โดยไม่กำหนดจำนวนและตำแหน่งของคำ
จักกล่าวถึงยอดยิ่งมิ่งกุมาร มาถึงที่เขาวิบุลบรรพตไพร เสด็จด่วนจากที่มงคลคช ค่อยไคลคลาลาลีกับบาทบง | ให้รีบยกพลทหารสท้านไหว เห็นไรไรราวแคว้นกุฎีดง น้อมประนตนบนิ้วขึ้นจำนง กระประจงน้อมนบเคารพคุณ |
กลอน: กัจจายนมณฑล
บังคับให้คำต้นวรรคใช้อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ สลับกันไปทุกวรรค
สมเด็จพระศิริวิบุลกิตต์ ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา ดับประดิดวิจิตรบรรจงเจิด แผ้วจำรัสผ่องศรีมณีรอง | กำจัดจิตจากโศกวิโยคหา ให้เสนาจัดแจงแต่งโกษทอง วิไลยเลิศล้วนลายไม่มีหมอง ดูลอยล่องเครื่องประดับระยับตา |
กลอน: สุนทรโกศล
บังคับใช้แต่ "ส" ทั้งหมดโดยไม่ให้มี ศ ษ มาปรากฎในบทประพันธ์
จักกล่าวถึงสมเด็จราชกุมาร ครองสมบัติแสนสวัสดิสุนทร พระองค์กับทรงฤทธิ์พระบิตุราช จะไปรับหม่อมราชสุริกากาญจน์ | กระเสมสานต์สุรสิทธิ์สมฤทธิ์สมร พระยานาคเสด็จจรยังบาดาล คิดถึงนาฏชนนีในไพรสาณฑ์ ให้คืนสู่เขตรสถานเสวยรมย์ |
กลอน: วิมลวาที
บังคับให้ใช้แต่ "ศ" โดยไม่ให้มี ส ษ มาปรากฎในบทประพันธ์
บ้างเชยชมศาขาแลศิงขร ทั่วประเทศน่าบันเทิงเริงพระไทย แลล้วนวิเศศด้วยรุกขชาติ หมู่วิหคหัศดินกินนรราย | แง่ชง่อนงามพิเศศน่าพิศไมย ข้างชั้นในซอกผาศิลาลาย เหมราชงามเลิศดูเฉิดฉาย ช่างเพริศพรายเพราพร้อมลม่อมนวล |
กลอน: อธิบดีอักษร
บังคับให้ใช้แต่ "ษ" โดยไม่ให้มี ศ ส มาปรากฎในบทประพันธ์
พระเกษแก้วมงกุฎของลูกเอ๋ย เพราะรักบุตรเหลือรักจักตรมตรอม เห็นปักษีจับต้นพฤกษาเรียง เที่ยวประพาษในป่ามหาวัน | พระไม่เคยราษร้างห่างบุตรถนอม จะซูบผอมรังษีฉวีวรรณ เหมือนแม่เคียงพระหัตถ์กอดประคองขวัญ เก็บพฤกษ์พรรณผลไม้ให้ภุญชา |
กลอน: บังคับใช้แต่ ก กา
บังคับไม่ให้ใช้คำที่มีตัวสะกดตลอดวรรค
พระฤๅษีมีคำนำวาที ไม่มีผู้ตู่ต่อก่อกำม์ใด ที่ปีนี้มีงูที่อยู่ไพร แต่อยู่ในไพรศรีนี้ช้ามา | ว่าข้านี้อยู่มาในป่าใหญ่ นิราภัยโรคีไม่มีบีฑา ไม่ทำใจอยู่ดีมีศุขา นี้เวลาเช้าค่ำย่ำราตรี |
กลอน: บังคับใช้แต่ ก กา กน
บังคับให้มีตัวสะกดได้เฉพาะแม่ กน
เจ้าพรานเห็นอิสีมีใจหาญ แสนสำราญบานชื่นรื่นในใจ อยู่มาได้ไม่ช้าก็ลาจร ให้พรานไปปิ่นเกล้าเจ้าธานี | ที่รำคาญแต่ก่อนถอนใจใหญ่ ก็เข้าไปกินหาผลามี พระภูธรชี้หนตำบลศรี มีวาทีว่าดูผู้ชำนาญ |
กลอน: บังคับใช้แต่ ก กา กน กง
บังคับให้มีตัวสะกดได้เฉพาะแม่ กน กับแม่ กง
พอถึงครามามหาสถาน ไหวอยู่เหมือนในอุบลที่รนรัน อันตั้งอยู่ในใบอุบลมี พอได้ยินคำคนนั่งสนทนา | สันดานพาลทมิฬมลทินหวั่น น้ำใจนั้นไหลลุเหมือนอุทกา ไหลรินรี่สิ้นวันไม่กังขา ว่าราชาเจ้าธานีที่หนีไป |
กลอน: บังคับใช้แต่ ก กา กน กง กด
บังคับให้มีตัวสะกดได้เฉพาะแม่ กน, กง และ กด
กรุงกระษัตริย์ทรงฟังไม่กังขา ขอประทานข้าเถ้าเต้าจรไป ถึงเจ็ดวันจึ่งข้าทูลลาจร สัจจังฤๅดังนั้นเป็นมั่นคง | ซึ่งตรัสว่าบัดนี้อยู่ที่ไหน ได้อาไศรยอยู่ที่กฎีดง ใกล้ศิงขรป่าใหญ่ไพรระหง ประทานจงเหมือนข้าแจ้งจาบัลย์ |
กลอน: บังคับใช้แต่ ก กา กน กง กด กก
บังคับให้มีตัวสะกดได้เฉพาะแม่ กน, กง, กด และ กก
โอ้ระอาอกข้าครานี้นี่ สมรแม่แม่จะร่ำร่ำอาวรณ์ รำพึงคิดคิดถึงพี่พี่จากเจ้า คะนึงถิ่นที่สถิตจิตรคะนึง | เห็นสุดที่ที่จะคิดคิดถึงสมร อาวรณ์ร้อนร้อนร่ำร่ำรำพึง พี่จากใจใจพี่เศร้าคนึงถึง จิตรคเนแต่อ้ำอึ้งให้อึ้งใจ |
กลอน: บังคับใช้แต่ ก กา กน กง กด กก กบ
บังคับให้มีตัวสะกดได้เฉพาะแม่ กน, กง, กด, กก และ กบ
พระนางสดับนางวับน้ำจิตรหวิด จึ่งทูลองค์ทูลพงษ์ทิพากร จักจากน้องจากนางไปทางไหน พระตอบนางปลอบนางพลางพาที | น้ำจิตรคิดใจแค้นดั่งแสนศร ว่าภูธรภูเบศร์นเรศร์ตรี สุดอาไลยประไลยกลางไพรสี ว่าพี่นี้วันนี้จักนิรา |
กลอน: บังคับใช้แต่ ก กา กน กง กด กก กม
บังคับให้มีตัวสะกดได้เฉพาะแม่ กน, กง, กด, กก และ กม
น้องน้องพี่นี้นี้แน่แม่แม่เจ้า เร่งเร่งจับรับรับแหวนแสนแสนตรง เก็บเก็บไว้ให้ให้บุตรสุดสุดใจ พี่พี่ยาลาลาน้องผ่องผ่องภักตร์ | อย่าอย่าทุกข์รุกรุกเร้าเจ้าเจ้าจง ธำธำรงค์วงวงนี้ดีดีนัก นานนานไปใหญ่ใหญ่มากล้ากล้าศักดิ์ ภักตร์เพียงภักตร์พรหมอุดมงาม |
กลอน: อักษรกลอนตาย
บังคับให้ใช้แต่คำตาย
สุดคิดจิตรวิตกอกจะทรุด นุชเทวศเกษชกตบอกนาฏ เจ็บจิตรเจ็บอกวิตกหนัก คิดเคียดคัดข้อขัดอกวิตกแทบ | ทุกข์เพราะรักหนักดุจชีพจักขาด แทบจะวาทชีพวอดอกงอบแงบ จักจากรักจากราชนาฏหอบแหบ จิตรวอบแวบวาบวิบจะลิบลับ |
กลอน: สิงหฬวาท
บังคับให้ใช้คำภาษาบาลีต้นวรรค
มีโองการว่าดูพธุนาฏ ปุตฺซึ่งพระราชกุมารา ยา อิตฺถี หญิงใดแม้ใสสุด สา อิตฺถี หญิงนั้นเป็นมั่นคง | ตุมเห ท่านจงปรารถนาหา รักขิตา อีกได้ครองสนองวงษ์ ได้ซึ่งบุตรชายหมายประสงค์ ให้เลื่อนองค์ยศยิ่งเป็นมิ่งวัง |
กลอน: ยัติภังค์
บังคับให้ลงท้ายวรรคด้วยคำขาดหรือความขาด แล้วนำไปต่อต้นวรรคถัดไป
ครั้นรุ่งแสงแสงทองส่องซึ่งรัศ- สว่างแสงแสงศรีระวีใน- กระษัตริย์เสด็จเสด็จยังที่นั่งน่า- ศรีสุกสุกเริงบรรเทิงรุ่ง- | มีจัดจัดแจ่มแอร่มใส- นพภาไลยไลยประเทศวิเศษกรุง- มุขมหาปราสาทประเสริฐสูง- ราษีพุ่งพุ่งเผ่นกระเด็นจอม- |
โคลง: ฤษีแปลงสาร
บังคับเสียงเรียงอักษรกลับคำ เช่น "ไว้" เป็น "ว้ไ"
กอัรษรวณษกลันวล้ อชื่ฤรีษงลปแรสา ดลัผนยพี้เนยลี่ปเนอลกราก นสห์ท่เห์ลเบลัห้ใ | งลพเลพา บสืว้ไ ยาลกบลัก นาอ่นล้หเนป็เมษกเ |
ถอด
อักษรวรลักษณล้วน ชื่อฤษรีแปลงสาร ผลัดเพี้ยนเปลี่ยนกลอนการ สนเท่ห์เล่ห์ลับให้ | เพลงพาล สืบไว้ กลายกลับ อ่านเหล้นเป็นเกษม |
โคลง: ไทหลง
บังคับใช้ตัวอักษรแทนกัน ผู้อ่านต้องรู้จักสูตรของการใช้อักษร เรียกว่า"สูตรไทหลง" ซึ่งพระปิฎกโกสล(อ่วม) ทำขึ้นไว้ดังนี้ (หลวงธรรมาภิมณฑ์ ๒๕๑๔:๗) กาเหงา เจ่าอยู่ ไฟฮือ ฬือฦๅ ด เป็น ถ ถอดอักษรได้ว่า
ก <--> ง จ <--> ย ฎ <--> ฐ ท <--> บ ฟ <--> ฮ | ข <--> ค ฉ <--> ช ฏ <--> ณ ธ <--> ฝ ภ <--> ฬ | ฃ <--> ฅ ซ <--> ฒ ด <--> ถ ป <--> ม ร <--> ล | ฆ <--> ฌ ญ <--> ฑ ต <--> น ผ <--> พ ว <--> ส |
ห <--> อ |
หังวลสลวาลวล้หจ สติถาตาลีลันต จุทรงรโขรกผลัถ ขืหไบอรกพยกใอ้ | วีวสัวถิ์ แน่กไส้ เผีจ้ตนิ หายห้ากเม็ดพร |
อักษรวรสารสร้อย วนิดานารีรัตน์ ยบุลกลโคลงพรัด คือไทหลงผจงให้ | สีสวัสดิ์ แต่งไว้ เพี้ยนติ อาจอ้างเป็นผล |
โคลง: ไทยนับ ๓
นับครั้งละ ๓ อักษร แล้วเก็บตัวอักษรออกมาหนึ่งตัว เมื่อหมดแถวก็นับทวนต้นใหม่จนครบอักษรทุกตัวในแถว เช่น มจ้ไบงทอตนักมบเอ้สาเถ
นับครั้งที่ ๑ จะได้ตัวอักษร ไทนับสา แล้วเหลืออักษร ๒ ตัว ต้องนับรวมแล้วตั้งต้นใหม่
นับครั้งที่ ๒ จะได้ตัวอักษร มบอกแ แล้วเหลือตัวอักษร ๑ ตัว นับรวมแล้วตั้งต้นใหม่
นับครั้งที่ ๓ ได้ตัวอักษร จ้งตามอัถ ครบทุกตัวอักษร นำมาเรียงกัน
หมายเหตุ: ถ้าอักษรตัวใดมี "สระ -า"ตาม เช่น "สา" ให้นับเป็น ๑ ตัว
มจ้ไบงทอตานักมบเอ้สาเถ
ศสาถทุมอกสัดถ้นทีอทัลย
กวัใสสนสาติเร่พเสจ
ยบเงสิสส้นนาะรุสุสำอนเยทนีซาร
ถอด
ไทยนับสามบอกแจ้ง ถอดทีละสามสันทัด ในแกสสารสวัส เสนาะสำเนียงสร้อย | ตามอัถ ทุกถ้อย ดิพจ ซาบสิ้นสุนทร |
โคลง: ไทยนับ ๕
บังคับเช่นเดียวกับ ไทยนับ ๓ แต่นับครั้งละห้าตัวอักษร
รท้วขอัปรโบกวงควษรไยน
ชเนลเวล่ช้ยปนห์อลนชื่กย
ทำวร้ร่ลำสำญนอนำเรเซ่น
คตยนลัตริยาคบรึถักนฦๅกอพ้ณา
ถอด
อักษรบวรทรงไว้ เป็นเล่ห์กลยลชวน ลำนำทำสำรวญ ลับฤกตรึกตริถ้อย | โดยขบวน ชื่นช้อย เร้นซร่อน ยากพ้นคณนา |
กลบทชนิดไทหลง ไทนับสาม ไทนับห้า ฤๅษีแปลงสาร อักษรเลข และฝนแสนห่า นี้ ฉันทิชย์กระแสสินธุ์ ได้อธิบาย ไว้ว่า "โบราณจารย์คิดขึ้นสำหรับ ใช้ในราชการสงคราม และสำหรับกุลบุตรกุลธิดา ได้ศึกษา" จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นหลักสูตรสำหรับเรียน เพื่อใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง มิใช่เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ดังกลบทชนิดอื่นๆ
๕. กลบทชนิดบังคับฉันทลักษณ์ กลบทชนิดนี้จะเพิ่ม บังคับฉันทลักษณ์ ของคำประพันธ์ แต่ละชนิด ให้มากขึ้น เช่น บังคับใช้ คณะฉันท์ กับคำประพันธ์ชนิดที่ไม่ใช่ฉันท์ เพิ่มสัมผัสบังคับ หรือเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งรับสัมผัส เป็นต้น
กลอน: ลิ้นตะกวด
๙ | ๘ | ๓ | ๒ | ๙ | ๘ | ||||||||||||||||
๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ๗ | ๘ | ๙ | ๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ๗ | ๘ | ๙ | ||||
๙ | ๘ | ๓ | ๒ | ๙ | ๘ | ||||||||||||||||
๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ๗ | ๘ | ๙ | ๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ๗ | ๘ | ๙ |
จะมาเย้ายั่วใจให้เรรวน ซึ่งว่าแสนรัญจวนหวนโหยถวิล มอบชีวังฝังฝากปลงฤๅทัย | ได้ทราบสารเสน่หาน่าเสสรวล เห็นเล่ห์ล้วนลวงล่อข้อจงใจ ทั้งโดยดิ้นอกจะหักรักหลงใหล จะคงให้ความสัตย์จริงสิ่งรักแรง |
กลอน: ลิ้นตะกวดคะนอง
ลักษณะบังคับเหมือนลิ้นตะกวดทุกประการ
เจ้าโศกแค้นแสนคิดดั่งแสงศร แต่วิโยคโศกเศร้าร้าวรวนรา พระรอมผอมแรงแห้งหิวโหย สังเวชคิดถึงบุตรสุดดังจะดิ้น | มาแรงรอนรานกายให้หวนหา ระหวนหาอกดังจะพังพิน เดียวดิวโดยใจจงปลงหวังถวิล เนตรหลั่งรินดังเลือดเดือดแดงดู |
กลอน: มาลินีโสภิต
บังคับให้นำคณะฉันท์ของ มาลินีฉันท์ มาแยกออกวางไว้ต้นวรรคทุกวรรค
ปะทะปะทังหวังบุตรจะมาถึง ถึงตายเป็นเห็นพักตร์พระมารดา จะได้ใครให้พระอรหัง จะริจะรึงบุตรสุดรำคาญ | จะริจะรึงลูกรักได้รักษา จะปลื้มใจชนมาเมื่อวายปราณ จะพวงหวังพระองค์น่าสงสาร เมื่อสังขารจักคิดถึงบิตุรงค์ |
กลอน: วสันตดิลกวาที
บังคับให้นำคณะฉันท์ของ วสันตดิลกฉันท์ มาแยกออกวางไว้ต้นวรรค ทุกวรรค
เหมือนแม่สิเนหาให้ข้าบาท ปิโยปิยาในบุตรสุดอาวรณ์ ฉันใดใจหวังดั่งมารดา จากวากีวะพระหทยัง | ดังสุวราชแขกเต้าสโมสร จะราจะร่อนไม่ไปให้ไกลรัง ปกป้องครองข้าชีวาหวัง จะเปรียบจะประดังจากพรากเมื่อจากจร |
กลอน: บวรโตฎก
บังคับให้นำคณะฉันท์ของ โตฎกฉันท์ มาแยกออกวางไว้ต้นวรรค ทุกวรรค
ชลเนตรไหลนองร้องร่ำรัก ชนนีห้ามบุตรสุดไม่ตาม ปิยบุตรสุดจากพระแม่เจ้า ปิยโยคเทวศเดือดเป็นเลือดหนอง | ชลไนยไหลหนักอาวรณ์หวาม ชลนานองน้ำพระเนตรนอง ปิยหัทไทยร้าวอารมณ์หมอง ปิยวิปโยคต้องพรากจากจร |
กลอน: วิกลิดสทสา
บังคับให้นำคณะฉันท์ของ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ มาแยกออกวางไว้ต้นวรรค ทุกวรรค
บ้างจับเจ่าเหวาจ๋อยพลอยสงสาร ทวีเทวศเนตรย้อยระทอยทวย ทั้งเทวฤทธิ์รุกขรัตน์พิมานไม้ สารโศกทวีเทวศถ้วนทุกองค์ | อุระรุ่มกลุ้มรานระโหยหวย ระงุงวยจับเจ่าเหงาเงื่องงง พลอยโหยละห้อยให้กรรแสงสง ทุกทั่วเทพต่างทรงโศกาวรณ์ |
กลอน: อิทาธิกร
บังคับให้นำคณะฉันท์ของ อินทรวิเชียรฉันท์ มาแยกออกวางไว้ต้นวรรค ทุกวรรค
ครั้นรุ่งสุริยเรืองบรรเทืองแสง นรานเรศเรืองฤทธิไกร ป่างปิ่นบดินทร์สุรราชกุมาร อุราระทมกรมทรวงยิ่งร่วงร้อน | ส่องสีวีแจ้งจำรัสไข ยกโยธาคลาไคลข้ามดงดอน พาสกลทหารเข้าไพรสอน ให้อาวรณ์ถึงนาฏพระชนนี |
๑. เปลี่ยนรูปคำประพันธ์ให้ผิดไปจากเดิม
กลแบบในจินดามณี
สารถีชักรถ (ยังไม่ได้ถอด)
พี่คอยหาเจ้า
มาคะคลอยเหลียว
ตาแลสั่งสุด
น่าเอ็นดูน้อยๆนิ่ม
สารถีชักรถ (ถอดแล้ว)
พี่คอยหาเจ้าพี่ มาคะคล้อยเหลียวมา ตาแลสั่งสุดตา น่าเอ็นดูน้อยน้อย | คอยหา คะคล้อย แลสั่ง นิ่มน่าเอ็นดู |
บทสังขยา (ยังไม่ได้ถอด)
ครางครวญพี่เศร้า
ร้อนพี่นางไกล
ฤๅเรียมมาศบัวปราง
โลมใครโพ้นอยู่อ้อน
บทสังขยา (ถอดแล้ว)
ครางครวญพี่เศร้าพี่ ร้อนพี่นางไกลนาง ฤๅเรียมมาศบัวปราง โลมใครโพ้นอยู่อ้อน | ครวญคราง พี่ร้อน บัวมาศ เรียมฤๅ อยู่อ้อนใครโลม |
มชณทิปก (ยังไม่ได้ถอด)
สมสมัครรัก สวาทหวังชื่น จองเจือเพื่อ ชั่วบ่กลัว | อย่า ไว้ ใจ คน | หร้วมสมสนิท ชิดเชื่อหน้า มิตรร่วมรัก กล้าบาปหล้วงละอาย |
มชณทิปก (ถอดแล้ว)
อย่า ไว้ ใจ คน | สมสมัครรัก สวาทหวังชื่น จองเจือเพื่อ ชั่วบ่กลัว | หร้วมสมสนิท ชิดเชื่อหน้า มิตรร่วมรัก กล้าบาปหล้วงละอาย |
พ่อ ถาม จง เล่า | เบิกมุขพร้อง เหตุสายสมร แจ้งแสดงบอกกร ตามมูลเหตุเศร้า | วร เจ้า แน่ ถ้อยบิดา |
ตันตะนัย (ถอดแล้ว)
พ่อ ถาม จง เล่า | เบิกมุขพร้อง เหตุสายสมร แจ้งแสดงบอกกร ตามมูลเหตุเศร้า | พ่อวร ถามเจ้า จงแน่ เล่าถ้อยบิดา |
ไชยกังเวียร (ยังไม่ได้ถอด)
ดาธรรมรารสดิเรื้องเรก
ปางเกล้าเมื่ออยู่พระสรรเพชญ
เผด็จนาภพพระเสด็จจ่อมสู่จวรกรรม
วานพานพระนฤชนม์ห้องเสด็จสู่เข้า
ไชยกังเวียร (ถอดแล้ว)
ดาราดิเรกเรื้อง ปางเมื่อพระเพชรสรร เผด็จภพเสด็จสู่กรรม วานพระชนม์เสด็จเข้า | รสธรรม อยู่เกล้า จวรจ่อม พระนา สู่ห้องนฤพาน |
เสือซ่อนเล็บ (ยังไม่ได้ถอด)
คำ หม่อม พร้อม เพราะ | โคลงเหมาะบทสี่ดี อ่านสารศรีเสนาะแต่ง ไพรถ้อยถี่กล่าวราว พรั่งทั้งพินทุ์ได้เรื้อง | ให้ ดู รู้ เรื่อง |
เสือซ่อนเล็บ (ถอดแล้ว)
คำ หม่อม พร้อม เพราะ | โคลงสี่บทรู้ อ่านดูสารศรี ไพรถ้อยถ้อยถี่ พรั่งทั้งพินทุ์ได้ | เหมาะดี เสนาะให้ ราวกล่าว เรื่องเรื้องแต่งพินทุ์ |
พยัคฆานอนซ่อนเล็บ (ยังไม่ได้ถอด)
เหี้ยมใจบอกออก ขยับคอยขยายผันผ่อน เฟี้ยมฟุบกายระวังนั่ง นอนตายเนื้อหมู่จับโจม | เล็บ ซ่อน นอน เสือ |
พยัคฆานอนซ่อนเล็บ (ถอดแล้ว)
เสือโจมจับหมู่เนื้อ นอนนั่งระวังกาย ซ่อนผ่อนผันขยาย เล็บออกบอกใจเหี้ยม | นอนตาย ฟุบเฟี้ยม คอยขยับ เล็บซร้อนนอนเสือ |
ช้างกระหมวดหญ้า (ยังไม่ได้ถอด)
นาคินทร คว้าจับ งวงกระหมวด รัดรอบ | เชื้อชาติราช ติณวะลิฉวย ลินมัดมุ่น คล้าจรสลัด |
ช้างกระหมวดหญ้า (ถอดแล้ว)
นาคินทรราชชาติเชื้อ คว้าจับฉวยวลิติน งวงกระหมวดมุ่นมัดลิน รัดรอบสลัดจรคล้า | นาคินทร จับคว้า งวงกระหมวด รอบรัดสลัดจร |
ซ้อนลายยนทิพ (ยังไม่ได้ถอด)
ทวา ทศ หง ษา | นาไปปีกมีนั้นเหินเห็จ การทวายิ่งเรืองรถสนุก มัญราท้องเทพยทิพท เฟื้องฟากสวรรค์ลองเทียม | ทวา ทศ หง ษา |
ซ้อนลายยนทิพ (ถอดแล้ว)
ทวา ทศ หง ษา | ปีกเหินเห็จนั้น รถสนุกการทวา ทิพย์ท้องเพทรา- ฟากสวรรค์ลองเฟื้อง | มีทวา ไปนา ยิ่งเรื้อง มัญทิพ ฟากเฟื้องเทียมษา |
๒. เรียงคำเป็นรูปต่างๆ เช่น เป็นตาราง เป็นรูปดอกไม้ ฯลฯ
กลทะแยง (ยังไม่ได้ถอด)
น้อง | เครียด | |||||||
คิด | ชวน | |||||||
ใด | แหน | |||||||
ฟัง | พี่ | กล่าว | ชอบ | แปร | ก่อน | เจ้า | ||
ว่า | ขึ้ง | |||||||
ยุ | บ่ | |||||||
ใคร | แล | |||||||
พี่ | ||||||||
เลย |
น้องคิดใดชอบขึ้ง ฟังพี่กล่าวชอบแปร ใครยุว่าชอบแหน ............ | บ่แล พี่เลย ก่อนเจ้า ชวนเคียด ........... |
กลสารดาลฉงน (ยังไม่ได้ถอด)
นิ่ง | |||||||
สร้อย | ใจ | ||||||
สาร | จน | ||||||
อ่าน | จบ | ||||||
สุด | คิด | เวียน | จวบ | สกล | แต่ | เศร้า | |
นึก | สิ้น | ||||||
นึง | ดาล | ||||||
คะ | ฉงน |
สร้อยสารอ่านจวบสิ้น สุดคิดเวียนจวบสกล คะนึงนึกจวบจบจน .............. | ดาลฉงน แต่เศร้า ใจนิ่ง .............. |
โคลงกลล่อ (ยังไม่ได้ถอด)
ล่อ | |||||||
น้อง | กล | ||||||
ขึ้ง | เอา | ||||||
เพื่อ | เขา | ||||||
มา | ด่วน | ตัด | เพราะ | เดา | อื่น | โอ้ | |
เขา | น้อง | ||||||
ฟัง | ฟัง | ||||||
เขา |
น้องขึ้งเพื่อเพราะน้อง มาด่วนตัดเพราะเดา ฟังเขาเพราะเขาเอา ................ | ฟังเขา อื่นโอ้ กลล่อ ................ |
(((((((****ยังมีกลบทอีกมากมายที่ยังไม่ได้เอามาลงไว้ ผู้จัดทำกำลังรวบรวมและจะนำมาลงไว้ให้ศึกษาต่อไปแน่นอน****)))))))