๑.โคลงสุภาพ
๑.๑ โคลง ๒ สุภาพ
|
|
|
๑.๒ โคลง ๓ สุภาพ
|
คนใดใจการุญ
นับว่าเป็นมิตรแท้ |
มีบุญคุณเปี่ยมแปล้
เที่ยงแท้เกลอขวัญเที่ยวนา |
๑.๓ โคลง ๔ สุภาพ
|
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง
เสียงย่อมยอยศใคร
สองเขือพี่หลับใหล
สองพี่คิดเองอ้า |
อันใด พี่เอย
ทั่วหล้า
ลืมตื่น ฤๅพี่
อย่าได้ถามเผือ |
๑.๔ โคลง ๕ (โคลงมณฑกคติ)
โคลง ๕ หรือบางทีเรียกว่า โคลงมณฑกคติ เพราะมีลีลาประดุจทางเดินของกบ คือ กระโดดก้าวข้ามเป็นตอนๆ เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยเพียงเรื่องเดียวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระโหราธิบดีได้กล่าวึงลักษณะของชนิดโคลงนี้ไว้ในหนังสือจินดามณีว่า ประกอบด้วย วรรคหรือบาทละ ๕ คำ บังคับเอกโท เช่นเดียวกับโคลงทั่วไป แต่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้ และบอกไม่ได้ ว่ามีการวางรูปแบบเป็นอย่างไร
ตัวอย่าง
แลมีค่ำมิ่วนน กินสาลีเปลือกปล้อน บมีผู้ต้อนแต่ง บรรณาฯ
เลือกผู้ยิ่งยศสา เปนราชาอคร้าว เรียกนามสมมตจ้าว จึ่งต้องท้าวเจ้าแผ่นดินฯ
-จาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ-
๑.๕ โคลง ๔ จัตวาทัณฑี
| จัตวาทัณฑีชื่ออ้าง
สัมผัสจัดโยงแผน
บัญญัติจัดอย่างโคลง
เอกเจ็ดสี่โทให้ | ครรโลง
ผูกไว้
สี่สุภาพ นั้นนา
หมั่นซ้อมเสมอเสมอ |
๑.๖ โคลง ๔ ตรีพิธพรรณ
|
ตรีพิธพรรณชื่ออ้าง
สัมผัสโยงดั่งแผน
บัญญัติอื่นดุจโคลง
เอกเจ็ดสี่โทให้ |
ครรโลง
ผูกไว้
สี่สุภาพ นั้นนา
หัดซ้อมเสมอเสมอ |
๑.๗ โคลงกระทู้
กระทู้เดี่ยว
รัก อาตม์ญาติเพื่อนพ้อง
ชาติ ยิ่งเหนือสิ่งไร
ยิ่ง ราษฎร์ร่วมรักไม
ชีพ สละเพื่อชาติแล้ | เพียงใด ก็ดี
รักแท้
ตรีมิตร สมานแฮ
ชาติเรื้องอารยัน |
กระทู้สอง
ลูกรัก | พ่อรักเจ้า | จริงเจียว แม่เอย |
ลูกใคร่ | เรียนพ่อเหลียว | รับใช้ |
ดวงใจ | พ่อดวงเดียว | รักแม่ นะแม่ |
ของพ่อ | มีมอบให้ | หมดสิ้นศฤงคาร |
กระทู้สาม
อย่าเมาศักดิ์
อย่ามักมาก
อย่าถากถาง
อย่าหมิ่นคน | สร้างเขื่อน
มุ่งขน
ถลากถลน
ค่อนได้ | ข่มคน
แต่ได้
แนมเหน็บ เขานา
เคาะเค้นคุยโต |
กระทู้สี่
อย่าทำความชั่ว
อย่ามั่วคนพาล
อย่าหาญต่อศึก
อย่าฮึกสู้เสือ | ให้
ริ
ตริ
กล้า | ปราชญ์ติ เตือนแฮ
ชั่วช้า
ตรองชอบ ก่อนนา
จักม้วยเพราะเสือ |
๒.โคลงดั้น
๒.๑ โคลง ๒ ดั้น
| ลมโชยชวนชื่อให้ | จิตผ่องพักตร์แผ้วไสร้ สร่างศัลย |
๒.๒ โคลง ๓ ดั้น
|
ยลบัญญัติโคลงสาม
กฎดั่งโคลงต้นนั้น |
นามบันลือชื่อดั้น
อย่าลืม |
๒.๓ โคลงดั้นวิวิธมาลี
จักนำโคลงสี่ดั้น
นามวิวิธมาลี
ผิดแบบดั่งภิปราย
จำอย่าลืมสู้ซ้อม
เอกเจ็ดโทสี่ถ้วน
จำอย่าสลับเผลอ
สองบทอย่าคลางแคลง
หากไป่เพราะล้ำให้ | บรรยาย แบบแฮ
เร่งรู้
คราวก่อนอีกแล
สม่ำเสมอ
สำแดง แบบแฮ
เพลี่ยงพล้ำ
เขียนคู่ กันนา
หมั่นตรอง |
๒.๔ โคลงดั้นบาทกุญชร
|
จักนำโคลงสี่ดั้น
นามว่าบาทกุญชร
สัมผัสดั่งแผนหมาย
จำอย่าลืมแล้วต้อง
เอกเจ็ดโทสี่ถ้วน
จำอย่าสลับเผลอ
สองบทอย่าคลางแคลง
หากไป่เพราะล้ำพริ้ง |
บรรยาย แบบแฮ
ชื่อพร้อง
เรียงถี่ กันรา
หมั่นเสมอ
สำแดง แบบแฮ
เพลี่ยงพล้ำ
เขียนคู่ กันนา
เร่งตรอง |
๒.๕ โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
|
ตรีพิธพรรณชื่อดั้น
ดุจวิวิธมาลี
โทสี่เอกเจ็ดหมาย
จำอย่าลืมฟั้นถ้อย
เกลาพจน์ไพเราะต้อง
เลือกกลั่นตามวิธี
หมายเหมาะหมั่นใจนำ
อาจจะขจัดขึ้งให้ |
บรรยาย แบบแฮ
เล่ห์นั้น
มีดั่ง แผนแฮ
ถูกความ
กรองคำ ควรแฮ
มีซึ้ง
บรรจุ ลงเทอญ
หื่นหรรษ์ |
๒.๖ โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
|
โคลงสี่มีชื่อดั้น
จัตวาทัณฑี
โทสี่เอกเจ็ดหมาย
เผยพจน์แผ่กว้างให้
เกลาพจน์ไพเราะต้อง
ตามแบบบรรพาจารย์
หมายเหมาะมั่นใจนำ
จักเสนาะเราะใช้ถ้อย |
บรรยาย แบบแฮ
ชื่ออ้าง
มีดั่ง แผนแฮ
ศึกษา
กรองคำ ควรแฮ
แจกไว้
บรรจุ ลงเทอญ
ถูกทาง |
๓.โคลงโบราณ
๓.๑ โคลงวิชุมาลี
|
โฉมเฉิดเลิศล้ำลักษณ์เชื้อ
ฤๅว่าอัปสรสวรรค์
เรียมมองมุ่นใจจินต์
ลืมอาตม์จนเจ้าจาก |
เทพิน
แบ่งภาค
จนเหม่อ
จรไกล |
๓.๒ โคลงมหาวิชชุมาลี
เหมือนโคลงวิชุมาลี แต่เพิ่มคำสุดท้ายเข้าไปอีก ๒ คำ
โฉมเฉิดเลิศล้ำลักษณ์เชื้อ
ฤๅว่าอัปสรสวรรค์
เรียมมองมุ่นใจจินต์
ลืมอาตม์จนเจ้าจาก | เทพิน
แบ่งภาค
จนเหม่อ
จึ่งรู้สึกสกนธ์ |
๓.๓ โคลงจิตรลดา
|
โฉมแม่ผ่องพักตร์เพื้อง
ใจแม่ผ่องใสสุทธิ์
สบโชคเทพบันดาล
จึ่งมาพบเจ้าที่ |
เพ็ญจันทร์
สร่างเศร้า
ดลจิต
หัวหิน |
๓.๔ โคลงมหาจิตรลดา
เหมือนโคลงจิตรลดา แต่เพิ่มคำสุดท้ายเข้าไปอีก ๒ คำ
โฉมแม่ผ่องพักตร์เพื้อง
ใจแม่ผ่องใสสุทธิ์
สบโชคเทพบันดาล
จึ่งมาพบเจ้าที่ | เพ็ญจันทร์
สร่างเศร้า
ดลจิต
หาดเจ้าสำราญ |
๓.๕ โคลงสุนธุมาลี
|
บังคมบิตุเรศแล้
ก่อกำเนิดชันษา
บำรุงเลี้ยงเรามา
พระคุณพระผ่องแผ้ว |
มารดา
ใหญ่แล้ว
เหนื่อยยาก
พูนสรวง |
๓.๖ โคลงมหาสินธุมาลี
เหมือนโคลงสินธุมาลี แต่เพิ่มคำสุดท้ายเข้าไปอีก ๒ คำ
บังคมบิตุเรศแล้
ก่อกำเนิดชันษา
บำรุงเลี้ยงเรามา
พระคุณพระผ่องแผ้ว | มารดา
ใหญ่แล้ว
เหนื่อยยาก
พูนโลกทั้งสาม |
๓.๗ โคลงนันททายี
|
สายลมเสียงเพลงทั้ง
ก่อเกิดฤดีเตือน
ธรรมชาติชีวิต
ทราบชัดปัดสร้อยเศร้า |
ดนตรี
จิตคล้อย
ของคู่
เสื่อมคลาย |
๓.๘ โคลงมหานันททายี
เหมือนโคลงนันททายี แต่เพิ่มคำสุดท้ายเข้าไปอีก ๒ คำ
สายลมเสียงเพลงทั้ง
ก่อเกิดฤดีเตือน
ธรรมชาติชีวิต
ทราบชัดปัดสร้อยเศร้า | ดนตรี
จิตคล้อย
ของคู่
เสื่อมสิ้นสบสวรรค์ |
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ๖ อย่าง คือ
๑. คณะ
๒. พยางค์
๓. สัมผัส
๔. เอกโท
๕. คำเป็นคำตาย
๖. คำสร้อย
คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
๒. หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัสอย่างเรียบๆไม่โลดโผน
ฉะนั้น คำสุภาพในฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพมนวจีวิภาค เพระาในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบกับของหยาบ หรือไม่เป็นคำที่มีสำเนียงและสำนวนผวนมาเป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทคำราชาศัพท์
หลักการแต่งโคลง
>>>๑. สัมผัส นอกจากสัมผัสนอกแล้วควาฃรมีสัมผัสในอีกสองอย่างคือ
ก. สัมผัสภายในวรรค
ข. สัมผัสพยัญชนะระหว่างวรรคในบาทเดียวกัน
>>>๒. คำที่เจ็ดของบาทที่หนึ่ง คำที่ห้าของบาทที่สองและสาม กับคำสุดท้ายของวรรคที่ของบาทที่สี่ไม่ควรใช้คำที่มีรูปของวรรณยุกต์ ถ้าใช้เสียงจัตวาจะไพเราะยิ่งขึ้น
>>>๓. ตำแหน่งเอก ใช้คำที่มีรูปเอกหรือคำตายเท่านั้น ตำแหน่งโท ใช้คำที่มีรูปโทเท่านั้น
>>>๔. คำสร้อย ให้เขียนห่างเล็กน้อยเมื่อความในวรรคหน้ายังไม่เต็มความ
>>>๕. การสลับเอกโท ในบาทแรกของโคลงสี่สุภาพ ให้คำที่ ๔ ที่มีตำแหน่งอกสลับกับคำที่ห้าที่มีตำแหน่งโทได้ ตามตำราโคลงเรียกว่ ดุล
>>>๖. โคลงสี่สุภาพหนึ่งบทจะมี ๓๐ คำบ้าง ๓๒ คำบ้าง ๓๔ คำบ้าง ๓๖ คำบ้าง
>>>๗. บาทแรกต้องย่อหน้าทุกครั้ง
>>>๘. ถ้าแต่งหลายบทเป็นเรื่องเป็นราวอย่างลิลิตต้องมีสัมผัสเชื่อมระหว่างบท หรือที่เรียกว่า ร้อยโคลง เช่น
ดังตัวอย่างคำสุดท้ายของบาทที่สี่ จะสัมผัสสระกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของบทใหม่