ความหมายของคำประพันธ์
คำประพันธ์ หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ โดยมีกำหนดข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้เกิดความครึกครื้นและมีความไพเราะ แตกต่างไปจากถ้อยคำธรรมดา
ความเป็นมาของคำประพันธ์ไทย
คำประพันธ์ของไทยถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ครั้งใด ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ แต่ถ้าเชื่อตามที่เคยกล่าวกันมาว่าไทยเป็นชาตินักกลอนแล้ว คำประพันธ์ของไทยต้องมีมาก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช จะทรงประดิษฐ์อักษรไทยในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ แต่เป็นคำประพันธ์ที่บันทึกไว้ในสมอง และถ่ายทอดกันด้วยปาก หรือที่เรียกว่า “กลอนสด” นั่นเอง
คำประพันธ์หรือบทร้อยกรอง มาปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในวรรณคดีเรื่อง “ลิลิตโองการแช่งน้ำ” หรือ “ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า” ซึ่งเชื่อกันว่าแต่งใน รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. ๑๘๒๙ - ๑๙๑๒) เป็นคำประพันธ์ประเภทโคลงกับร่าย
ถ้าสังเกตดูในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ ๑ จะมีลักษณะคำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองเพราะจะเห็นลักษณะซึ่งเกิดจากการใช้คำคล้องจองกัน เช่น “ในน้ำมาปลา ในนามีข้าว” “เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย” “ไพร่ฟ้าหน้าใส”
คำประพันธ์ไทยนี้ สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ใช้เรียกวรรณกรรมประเภทที่มีลักษณะบังคับในการแต่ง หรือมีการกำหนดคณะว่า “ร้อยกรอง” ควบคู่กันกับคำว่า “ร้อยแก้ว” อันเป็นความเรียง
คำประพันธ์ที่เรียกว่า ร้อยกรอง ในปัจจุบันนี้ โบราณเรียกกันหลายอย่าง เช่น “กลอน” ในลิลิตพระลอ” “กาพย์” ในกาพย์มหาชาติ “ฉันท์” ในลิลิตยวนพ่าย “กานท์” ในทวาทศมาส และอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า “บทกลอน” “กาพย์กลอน” “บทกวี” “กวีนิพนธ์” “กวีวัจนะ” “บทประพันธ์” และ “คำประพันธ์”
ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ คือ ตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบ ตามลักษณะบังคับหรือบัญญัติที่นักปราชญ์ได้วางเป็นแบบไว้
ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์
คำประพันธ์ คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกันไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์
คำประพันธ์ที่ดีต้องมีลักษณะสามประการ
- มีข้อความดี
- มีสัมผัสดี
- แต่งถูกต้องตามลักษณะบังคับ
ลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ในการเรียบเรียงคำประพันธ์ทั้งปวงมีอยู่ ๘ อย่างคือ –
๑. ครุ – ลหุ
คำประพันธ์ คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกันไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์
คำประพันธ์ที่ดีต้องมีลักษณะสามประการ
- มีข้อความดี
- มีสัมผัสดี
- แต่งถูกต้องตามลักษณะบังคับ
ลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ในการเรียบเรียงคำประพันธ์ทั้งปวงมีอยู่ ๘ อย่างคือ –
๑. ครุ – ลหุ
ครุ คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว(ทีฆสระ)และสระเกินทั้ง ๔ คือสระ อำ ไอ ใอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ใช้เครื่องหมาย –ั (ไม้หันอากาศ) แทน
ลหุ คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้น(รัสสระ)ที่ไม่มีตัวสะกด เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ใช้เครื่องหมาย –ุ (สระอุ) แทน
๒. เอก – โท
ลหุ คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้น(รัสสระ)ที่ไม่มีตัวสะกด เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ใช้เครื่องหมาย –ุ (สระอุ) แทน
๒. เอก – โท
เอก คือพยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกและบรรดาคำตายทั้งสิ้น ซึ่งในโคลงและร่ายใช้แทนเอกได้
เอกโทษ คือคำที่ไม่เคยใช้ไม้เอก แต่เอามาแปลงใช้โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็นเอกเพื่อให้ได้เสียงเอกตามบังคับ เช่น สั้น เป็น ซั่น ข้าว เป็น ค่าว ฝ้าย เป็น ฟ่าย เป็นต้น
โท คือพยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท
โท คือพยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท
โทโทษ คือคำที่ไม่เคยใช้ไม่โท แต่เอามาแปลงโดยเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็นโท เพื่อให้ได้เสียงตามบังคับเช่น ว่าย เป็น หว้าย ซ่อน เป็น ส้อน ล่อง เป็น หล้อง เป็นต้น
๓. คณะ คือแบบบังคับที่วางกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์ชนิดนั้นต้องมีเท่านั้นวรรค เท่านั้นคำ และต้องมีเอก – โท ครุลหุตรงนั้นๆ และที่สำคัญคำประพันธ์ทุกชนิดจะต้องมีคณะ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นคำประพันธ์ นี้กล่าวโดยทั่วไป
๓. คณะ คือแบบบังคับที่วางกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์ชนิดนั้นต้องมีเท่านั้นวรรค เท่านั้นคำ และต้องมีเอก – โท ครุลหุตรงนั้นๆ และที่สำคัญคำประพันธ์ทุกชนิดจะต้องมีคณะ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นคำประพันธ์ นี้กล่าวโดยทั่วไป
ตัวอย่างคณะของโคลง ๔ สุภาพ มีดังนี้
โคลงสีสุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทที่ ๑,๒ และ ๓ มีบาทละ ๒ วรรค และมีจำนวนคำเท่ากันทั้ง ๓ บาท คือบาทละ ๗ คำ ส่วนบาทที่ ๔ มีสองวรรคเช่นเดียวกัน แต่มีจำนวนคำเพิ่มขึ้นในวรรคหลังอีกสองคำ
แต่สำหรับใน “ฉันท์” คำว่าคณะมีความหมายแคบ คือลักษณะที่วางคำเสียงหนักเสียงเบาที่เรียกว่า “ครุลหุ” และแบ่งออกเป็น ๘ คณะ คณะหนึ่งมีอยู่ ๓ คำ เรียงครุและลหุไว้ต่างๆกัน
คณะทั้ง ๘นั้นคือ – ย ร ต ภ ช ส ม น ชื่อคณะทั้ง ๘ นี้เป็นอักษรที่ย่อมาจากคำเต็ม คือ -
ย มาจาก ยชมาน แปลว่า พราหมณ์บูชายัญ
ร ” รวิ ” พระอาทิตย์
ต ” โตย ” น้ำ
ภ ” ภูมิ ” ดิน
ช ” ชลน ” ไฟ
ส ” โสม ” พระจันทร์
ม ” มารุต ” ลม
น ” นภ ” ฟ้า
วัตถุทั้ง ๘ นี้รวมเรียกว่า “อัษฏมูรติ” แปลว่าแปดรูปกาย ทางไสยศาสตร์ถือวาเป็นรูปกายของพระศิวะหรืออิศวร เพราะฉะนั้น อักษรชื่อคณะฉันท์ทั้งแปดนี้ จึงบ่งถึงพระอิศวรโดยเฉพาะ
ในตำราพฤตตรัตนากรของท่านเกทารภัฏฏะ ได้อธิบายความหมายของอักษรทั้ง ๘ ไว้ว่า
ม เป็นเครื่องหมายบ่งถึง ศรี
ย ” วุฒิ
ร ” พินาศ
ส ” สัญจร
ต ” การถูกขโมย
ช ” โรค
ภ ” ยศรุ่งเรือง
น ” อายุ
เรื่องชื่อของคณะนี้ ความจริงไม่สู้จำเป็นในการเรียนฉันทลักษณ์ในภาษาไทย เพราะเรามุ่งจำครุ - ลหุกันมากกว่าที่จะจำชื่อคณะ ทั้งการจัดวรรคต้องของฉันทลักษณ์ในภาษาไทยก็ไม่เหมือนในบาลีและสันสกฤต เพราะฉะนั้น จำครุลหุเป็นฉันท์ไป จึงเป็นการเบาสมองกว่า ในที่นี้เป็นเพื่อการประดับความรู้เท่านั้น
๔. พยางค์ คือจังหวะเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆหรือหน่วยเสียงที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมายหรือไม่ก็ตาม คำที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่างๆนั้น ล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น คำพยางค์นี้ถ้ามีเสียงเป็นลหุ จะรวม ๒ พยางค์เป็นคำหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งในการแต่งร้อยกรองก็ได้ แต่ถ้ามีเสียงเป็นครุจะรวมกันไม่ได้ ต้องใช้พยางค์ละคำ
คณะทั้ง ๘นั้นคือ – ย ร ต ภ ช ส ม น ชื่อคณะทั้ง ๘ นี้เป็นอักษรที่ย่อมาจากคำเต็ม คือ -
ย มาจาก ยชมาน แปลว่า พราหมณ์บูชายัญ
ร ” รวิ ” พระอาทิตย์
ต ” โตย ” น้ำ
ภ ” ภูมิ ” ดิน
ช ” ชลน ” ไฟ
ส ” โสม ” พระจันทร์
ม ” มารุต ” ลม
น ” นภ ” ฟ้า
วัตถุทั้ง ๘ นี้รวมเรียกว่า “อัษฏมูรติ” แปลว่าแปดรูปกาย ทางไสยศาสตร์ถือวาเป็นรูปกายของพระศิวะหรืออิศวร เพราะฉะนั้น อักษรชื่อคณะฉันท์ทั้งแปดนี้ จึงบ่งถึงพระอิศวรโดยเฉพาะ
ในตำราพฤตตรัตนากรของท่านเกทารภัฏฏะ ได้อธิบายความหมายของอักษรทั้ง ๘ ไว้ว่า
ม เป็นเครื่องหมายบ่งถึง ศรี
ย ” วุฒิ
ร ” พินาศ
ส ” สัญจร
ต ” การถูกขโมย
ช ” โรค
ภ ” ยศรุ่งเรือง
น ” อายุ
เรื่องชื่อของคณะนี้ ความจริงไม่สู้จำเป็นในการเรียนฉันทลักษณ์ในภาษาไทย เพราะเรามุ่งจำครุ - ลหุกันมากกว่าที่จะจำชื่อคณะ ทั้งการจัดวรรคต้องของฉันทลักษณ์ในภาษาไทยก็ไม่เหมือนในบาลีและสันสกฤต เพราะฉะนั้น จำครุลหุเป็นฉันท์ไป จึงเป็นการเบาสมองกว่า ในที่นี้เป็นเพื่อการประดับความรู้เท่านั้น
๔. พยางค์ คือจังหวะเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆหรือหน่วยเสียงที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมายหรือไม่ก็ตาม คำที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่างๆนั้น ล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น คำพยางค์นี้ถ้ามีเสียงเป็นลหุ จะรวม ๒ พยางค์เป็นคำหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งในการแต่งร้อยกรองก็ได้ แต่ถ้ามีเสียงเป็นครุจะรวมกันไม่ได้ ต้องใช้พยางค์ละคำ
ในคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งถือ ครุ ลหุ เป็นสำคัญ จะนับแต่ละพยางค์เป็น ๑ คำเสมอ เช่น สุจริต นับเป็น ๓ พยางค์ ( ๓ คำ) แต่ถ้าสุจริตไปอยู่ในโคลง เช่น
“สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง” จะนับเพียง ๒ คำเท่านั้น คือให้รวมเสียงลหุ ๒ พยางค์ที่อยู่ใกล้กันเป็น ๑ คำ
ในทำนองเดียงกัน ถ้าคำใดมี ๒ พยางค์ เป็นลหุพยางค์หนึ่ง เช่น ประโยชน์ ภุชงค์ สลบ สบาย ก็อนุโลมให้นับเป็น ๑ พยางค์ (คำ) ได้
จะเห็นได้ว่าในการนับพยางค์ (คำ) นั้น ต้องแล้วแต่ลักษณะการบังคับของร้อยกรองแต่ละประเภท ซึ่งผู้แต่งคำประพันธ์จะต้องสังเกตให้ดี
๕. สัมผัส คือลักษณะบังคับที่ให้ใช้คำคล้องจองกัน คำที่คล้องจองกันหมายถึงคำที่ใช้สระและตัวสระกดในมาตราอย่างเดียวกัน แต่ต้องไม่ซ้ำอักษรหรือซ้ำเสียงกัน(สระ ไอ ใอ อนุญาตให้ใช้สัมผัสกับ อัย ได้)
๕. สัมผัส คือลักษณะบังคับที่ให้ใช้คำคล้องจองกัน คำที่คล้องจองกันหมายถึงคำที่ใช้สระและตัวสระกดในมาตราอย่างเดียวกัน แต่ต้องไม่ซ้ำอักษรหรือซ้ำเสียงกัน(สระ ไอ ใอ อนุญาตให้ใช้สัมผัสกับ อัย ได้)
ชนิดของสัมผัสมี ๔ ชนิด
๑ สัมผัสสระ ได้แก่ คำที่มีสระตรงกัน ถ้ามีตัวสะกดก็ต้องเป็นตัวสะกดที่อยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น
ไป สัมผัสกับ ใจ ไหน ใส วัย ฯลฯ
จม สัมผัสกับ ถม ล่ม ชม ดม ฯลฯ
เป็น สัมผัสกับ เห็น เย็น เอ็น เข็ญ ฯลฯ
สูญ สัมผัสกับ ทูน มูล คูน ปูน ฯลฯ
บุญ สัมผัสกับ ทุน ขุน กุน วุ่น ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าคำข้างต้นนี้ แต่ละชุดใช้สระเดียวกัน และใช้ตัวสะกดในมาตราเดียวกัน แม้จะใช้วรรณยุกต์ต่างกัน ก็ถือว่าสัมผัสกันได้
ข้อควรระวัง อย่าใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียงยาว แม้ว่าจะมีตัวสะกดในมาตราเดียวกันก็ตาม จะถือว่าไม่สัมผัสสระกัน เช่น บุญ กับ ทูน ได้ กับ ว่าย กิน กับ ตีน อย่างนี้ถือว่าไม่ได้
๒ สัมผัสอักษร ได้แก่คำที่ใช้พยัญชนะตันเสียงเดียวกัน อาจเป็นอักษรที่เป็นพยัญชนะเดียวกัน หรือพยัญชนะที่มีเสียงสูงต่ำเข้าคู่กันก็ได้ หรือพยัญชนะควบชุดเดียวกันก็ได้ เช่น
บาง สัมผัสอักษรกับ บน เบียด บัง
ใคร สัมผัสอักษรกับ ขน ฆ่า เคียง
กลิ้ง สัมผัสอักษรกับ กลับ ไกล เกลื่อน
๓ สัมผัสนอก ได้แก่คำที่บังคับให้คล้องจองกันในระหว่างวรรคหนึ่งกับอีกวรรคหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งที่ต่างๆกัน ตามชนิดของคำประพันธ์นั้นๆ สัมผัสนอกนี้เป็นสัมผัสที่บังคับซึ่งจำเป็นต้องมี จะขาดไม่ได้ และจะต้องเป็นสัมผัสสระเท่านั้น
๓ สัมผัสนอก ได้แก่คำที่บังคับให้คล้องจองกันในระหว่างวรรคหนึ่งกับอีกวรรคหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งที่ต่างๆกัน ตามชนิดของคำประพันธ์นั้นๆ สัมผัสนอกนี้เป็นสัมผัสที่บังคับซึ่งจำเป็นต้องมี จะขาดไม่ได้ และจะต้องเป็นสัมผัสสระเท่านั้น
รูปแบบการส่งสัมผัส ซึ่งคำประพันธ์ทุกชนิด จะต้องใช้แบบใดแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้
๑ แบบร่าย มีลักษณะเด่นคือ ส่งสัมผัสต่อๆกันไปทุกวรรคตั้งแต่ต้นจนจบ
๒ แบบกานท์ หรือกลอนหัวเดียว มีลักษณะเด่นคือ ส่งสัมผัสท้ายบาทเป็นเสียงเดียวกัน ตั้งแต่บาทแรกไปจนถึงบาทสุดท้าย
๓ แบบกลอนสังขลิก มีลักษณะเด่นคือ ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
๔ แบบกลอนสุภาพ มีลักษณะเด่นคือ ส่งสัมผัสทั้งระหว่างวรรค ระหว่างบาท และระหว่างบท
๕ แบบกาพย์ มีลักษณะเด่นคือ ทิ้งสัมผัสระหว่างวรรคในวรรคสุดท้ายของบท
๖ แบบโคลง มีลักษณะเด่นคือ ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
๔ สัมผัสใน ได้แก่คำที่คล้องจองกันและอยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสคู่ที่เรียงคำไว้ติดกัน หรือจะเป็นสัมผัสสลับ คือเรียงคำอื่นไว้แทรกคั่นไว้ระหว่างคำที่สัมผัสนั้นก็ได้ สุดแต่จะเหมาะทั้งไม่มีกฎเกณฑ์จำกัดว่าจะต้องมีอยู่ตรงนั้นตรงนี้ อย่างสัมผัสนอก และไม่จำเป็นต้องใช้สระอย่างเดียวกันด้วย เพียงแต่ใช้อักษรเหมือนกันหรือเป็นอักษรประเภทเดียวกันหรืออักษรที่มีเสียงคู่กันก็ได้
สัมผัสในแบ่งออกเป็นสองชนิด -
ก. สัมผัสสระ ได้แก่คำคล้องจองที่มีสระและมาตราตัวสะกดอย่างเดียวกัน
ข. สัมผัสอักษร ได้แก่คำคล้องจองที่ใช้อักษรชนิดเดียวกัน หรืออักษรประเภทเดียวกัน หรือใช้อักษรที่มีเสียงคู่กัน
อักษรที่มีเสียงคู่กัน
อักษรต่ำ ๑๔ อักษรสูง ๑๑
ค ฅ ฆ เสียงคู่กับ ข ฃ
ช ฌ ” ฉ
ซ ( ทร = ซ ) ” ศ ษ ส
ฑ ฒ ท ธ ” ฐ ถ
พ ภ ” ผ
ฟ ” ฝ
ฮ ” ห
สัมผัสในที่ได้กล่าวมานี้เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ จึงไม่ได้มีแบบกำหนดมาแต่โบราณ แต่ถ้าไม่มีก็ขาดรสไพเราะซึ่งเป็นยอดรสรสในเชิงฉันทลักษณ์ เพราะฉะนั้น คำประพันธ์ที่ดี จะขาดสัมผัสในเสียไม่ได้ เหมือนเกสรเป็นที่เชิดชูความงามของบุปผาชาติเช่นนั้น
ตัวอย่างสัมผัสใน
ในเรื่องของสัมผัสนี้ รองอำมาตย์เอกหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรถึก) ซึ่งเป็นนักปราชญ์ และกวีในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้จัดประเภทของสัมผัสในเป็นพวกๆ ไว้ในหนังสือประชุมลำนำ ดังนี้
สัมผัสสระ แยกสัมผัสสระ เพื่อให้ไพเราะ คือ
๑ สระเดียวกันเรียงสองคำ เรียกว่า เคียง เช่น
พระวิโยคโศกเศร้าเปล่าเปลี่ยว
เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
๒ สระเดียวกันเรียงกันสามคำ เรียกว่า เทียบเคียง เช่น
อมรแมนแม่นแม้นเจ้าโฉมงาม
ถ้ารักนักมักหน่ายคล้ายอิเหนา
๓ สองสระเรียงกันสระละสองคำ เรียกว่า ทบเคียง เช่น
จึ่งแย้มเยื้อนเอื้อนโอษฐ์โปรดประภาษ
แต่วิชาวาลีมีไฉน
แม้นพระองค์ทรงเดชเจตนา
๔ สระเดียวสองคำมีสระอื่นคั่นกลางหนึ่งคำ อยู่ปลายวรรค เรียกว่า เทียมแอก เช่น
ดูประเทืองเรืองแสงทองสาดส่อง
๕ สระเดียวสองคำ มีสระอื่นคั่นกลางอยู่หนึ่งคำ อยู่ต้นวรรค หรือกลางวรรค เรียกว่า แทรกเคียง เช่น
ก้ามปูแลเชือกร้อยเขาห้อยท้าย
เมื่อยามไร้แลงามกว่าชามดิน
ขย้ำเขี้ยวขบปากดังนาดเป็น
ตาแม้นมองมุ่งสะดุ้งกาย
๖ สระเดียวสองคำมีสระอื่นคั่นกลางสองคำ เรียกว่า แทรกแอก เช่น
เราขอบใจจะเลี้ยงให้เที่ยงธรรม์
ถ้าจะคิดจริงๆ ก็มีเพียง ๔ แบบ คือ ตัดข้อ ๔ กับข้อ ๖ ออกไปได้ ส่วนสัมผัสที่เป็นสัมผัสพยัญชนะ ท่านกำหนดไว้ ๗ แบบดังนี้
๑ ใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวกันเรียงสองคำ เรียกว่า คู่ เช่น
จนลืมตัวมัวหมองเพราะต้องตา
เป็นทุกข์ร้อนรักนางถึงอย่างนี้
๒ ใช้พยัญชนะเดียวกันเรียงกันสามคำ เรียกว่า เทียบคู่ เช่น
เขาว่าไว้หวานนักก็มักรา
อย่าถือใจแจ้งจริงทุกสิ่งสรรพ์
จะได้ชูเชยชมสมเกสร
จงตรึกตราตรองความตามบุราณ
๓ ใช้พยัญชนะเดียวกันเรียงสี่คำซ้อน เรียกว่า เทียบรถ เช่น
เสียงจิ้งหรีดหวีดแว่ววิเวกใจ
ต้องตรึกตราตรอมจิตเพราะปิดความ
๔ ใช้พยัญชนะเดียวกันเรียงห้าคำซ้อน เรียกว่า เทียมรถ เช่น
ยามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก
พี่จำใจจำจากเจ้าพรากมา
มานึกหน้านิ่มน้องนวลผ่องพรรณ
๕ ใช้พยัญชนะต้นเรียงกันเป็นสองคู่ เรียกว่า ทบคู่ เช่น
ขอหมายมั่นบุญเบื้องบูรพา (เพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง)
หม้อข้าวขันตกแตกกระจายราย (นิราศพระบาท)
มีรูปรากษกสองอสูรขยัน (นิราศพระบาท)
จะโครมครึก เซ็งแซ่ด้วยแต่สังข์
๖ ใช้พยัญชนะเดียวสองคำมีพยัญชนะอื่นคั่นกลางหนึ่งคำ เรียกว่า แทรกคู่ เช่น
ขอหมายมั่นกว่าจะม้วยชนมาน
เสี่ยงผลที่ได้เพิ่มบำเพ็ญมา
เสียดายเกิดมาเกินน่าน้อยใจ
ดังป่าช้าพงชัฏสงัดคน
๗ ใช้พยัญชนะเดียวสองคำ มีพยัญชนะอื่นคั่นกลางสองคำ เรียกว่า แทรกรถ เช่น
ก็เหมือนอกกระต่ายดงที่หลงเดือน
ดลใจมิตรอย่าให้เหมือนกับกรุงใหญ่
ถึงคลองขวางบางจากยิ่งตรมจิต
แต่เดือนยี่นี่ก็ย่างเข้าเดือนสาม
๖. คำเป็นคำตาย คำเป็น คือคำที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว(ทีฆสระ)ในแก่ ก กา และคำที่มีตัวสะกดในแม่ กน กง กม เกย (คำที่มีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกย) รวมทั้งสระสั้นทั้ง ๔ ตัว คือ อำ ใอ ไอ เอา
คำตาย คือคำที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้น(รัสสระ)ในแม่ ก กา และคำที่มีตะสะกดในแม่ กก กด กบ ในการแต่งโคลงที่ชนิดใช้คำตายแทน เอก ได้
๗. คำนำ คือคำที่ใช้กล่าวขึ้นต้นสำหรับเป็นบทนำในคำประพันธ์ เป็นคำเดียวบ้าง เป็นวลีบ้าง เช่น เมื่อนั้น บัดนั้น โฉมเฉลา น้องเอ๋ยน้องรัก รถเอ๋ยรถทรง ครานั้น สักวา ฯลฯ บางทีก็ใช้คำนามตรงๆเหมือนอย่างเช่น นามอาลปนะ
๘. คำสร้อย คือคำที่ใช้สำหรับลงท้ายบทหรือท้ายบาทของคำประพันธ์ ซึ่งตามธรรมดามีคำที่มีความหมายอยู่ข้างหน้าแล้วแต่ยังไม่ครบจำนวนตามคำที่บัญญัติไว้ในคำประพันธ์ จึงต้องเติมสร้อยเพื่อให้มีคำครบตามจำนวนและเป็นการเพิ่มสำเนียงให้ไพเราะในการอ่านด้วย คำสร้อยนี้จะเป็นคำนาม คำวิเศษณ์ คำกิริยาอนุเคราะห์ คำสันธาน หรือคำอุทานก็ได้ แต่ถ้าเป็นคำอุทานที่มีรูปวรรณยุกต์ต้องตัดรูปวรรณยุกต์เอกออก และไม่ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ มิฉะนั้นจะขัดต่อการอ่านทำนองเสนาะ และในการใช้นั้นควรเลือกคำที่ท่านวางไว้เป็นแบบฉบับ คำสร้อยนี้ต้องเป็นคำเป็น จะใช้คำตายไม่ได้ และใช้เฉพาะบทประพันธ์ชนิดโคลงและร่ายเท่านั้น
๖. คำเป็นคำตาย คำเป็น คือคำที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว(ทีฆสระ)ในแก่ ก กา และคำที่มีตัวสะกดในแม่ กน กง กม เกย (คำที่มีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกย) รวมทั้งสระสั้นทั้ง ๔ ตัว คือ อำ ใอ ไอ เอา
คำตาย คือคำที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้น(รัสสระ)ในแม่ ก กา และคำที่มีตะสะกดในแม่ กก กด กบ ในการแต่งโคลงที่ชนิดใช้คำตายแทน เอก ได้
๗. คำนำ คือคำที่ใช้กล่าวขึ้นต้นสำหรับเป็นบทนำในคำประพันธ์ เป็นคำเดียวบ้าง เป็นวลีบ้าง เช่น เมื่อนั้น บัดนั้น โฉมเฉลา น้องเอ๋ยน้องรัก รถเอ๋ยรถทรง ครานั้น สักวา ฯลฯ บางทีก็ใช้คำนามตรงๆเหมือนอย่างเช่น นามอาลปนะ
๘. คำสร้อย คือคำที่ใช้สำหรับลงท้ายบทหรือท้ายบาทของคำประพันธ์ ซึ่งตามธรรมดามีคำที่มีความหมายอยู่ข้างหน้าแล้วแต่ยังไม่ครบจำนวนตามคำที่บัญญัติไว้ในคำประพันธ์ จึงต้องเติมสร้อยเพื่อให้มีคำครบตามจำนวนและเป็นการเพิ่มสำเนียงให้ไพเราะในการอ่านด้วย คำสร้อยนี้จะเป็นคำนาม คำวิเศษณ์ คำกิริยาอนุเคราะห์ คำสันธาน หรือคำอุทานก็ได้ แต่ถ้าเป็นคำอุทานที่มีรูปวรรณยุกต์ต้องตัดรูปวรรณยุกต์เอกออก และไม่ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ มิฉะนั้นจะขัดต่อการอ่านทำนองเสนาะ และในการใช้นั้นควรเลือกคำที่ท่านวางไว้เป็นแบบฉบับ คำสร้อยนี้ต้องเป็นคำเป็น จะใช้คำตายไม่ได้ และใช้เฉพาะบทประพันธ์ชนิดโคลงและร่ายเท่านั้น
คำสร้อยที่นิยมใช้กันเป็นแบบแผนมีทั้งหมด 18 คำ
1.พ่อ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล
2.แม่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก
3.พี่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล อาจใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 ก็ได้
4.เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ
5.เทอญ มีความหมายเชิงขอให้มี หรือ ขอให้เป็น
6.นา มีความหมายว่าดังนั้น เช่นนั้น
7.นอ มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า หนอ หรือ นั่นเอง
8.บารนี สร้อยคำนี้นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า ดังนี้ เช่นนี้
9.รา มีความหมายว่า เถอะ เถิด
10.ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
11.เนอ มีความหมายว่า ดังนั้น เช่นนั้น
12.ฮา มีความหมายเข่นเดียวกับคำสร้อย นา
13.แล มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
14.ก็ดี มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
15.แฮ มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อยแล
16.อา ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูดในเชิงรำพึงด้วยวิตกกังวล
17.เอย ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียกเหมือนคำว่าเอ๋ยในคำประพันธ์อื่น หรือวางไว้ให้คำครบตามบังคับ
18.เฮย ใช้เน้นความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวหน้าสร้อยคำนั้น เฮย มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว" จึงน่าจะมีความหมายว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน
อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E
๙ เสียงวรรณยุกต์ หมายถึงคำที่มีเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๕ เสียง เสียงวรรณยุกต์นี้เป็นลักษณะสำคัญที่ใช้บังคับในกลอนและกาพย์บางชนิด เช่น กลอนสุภาพ คำสุดท้ายของวรรครับห้ามใช้เสียงสามัญ
เสียงวรรณยุกต์มี ๕ เสียง ดังนี้
เสียงสามัญ ได้แก่ พื้นเสียงคำของอักษรกลาง และอักษรต่ำ เช่น มา ลา วา ไป ไกล เชิญ บุญ
เสียงเอก ได้แก่ เสียงอักษรกลางและอักษรสูงที่บังคับไม้เอก เช่น บ่า ไป่ ข่า เตี่ยว แผ่น ถั่ว กับเสียงอักษรกลางและอักษรสูงที่เป็นคำตาย เช่น กับ ขบ เจ็บ ฝาก สัก อก และอักษรต่ำที่มี ห นำ และบังคับไม้เอก เช่น อย่าง หน่อ เหลี่ยม หวั่น
เสียงโท ได้แก่ เสียงอักษรกลางและอักษรสูงที่บังคับไม้โท เช่น เก้า ฝ้าย ห้อง อ้อน แป้ง กับเสียงอักษรต่ำที่บังคับไม้เอก แต่อ่านเป็นเสียงโท เช่น ล่า โธ่ พร่า ยั่ว แม่ พ่อ
เสียงตรี ได้แก่ เสียงอักษรกลางที่บังคับไม้ตรี เช่น บ๊อง อี๊ก กรี๊ด โต๊ะ จ๊ะ และคำตายอักษรตำที่เป็นสระเสียงสั้น เช่น พุ ละ เพราะ ลด
เสียงจัตวา ได้แก่ เสียงอักษรกลางที่บังคับไม้จัตวา เช่น ป๋า อ๋อง จ๋า จ๋อ เดี๋ยว กับพื้นเสียงคำเป็นอักษรสูง เช่น โข ผา หอม สัน และพื้นเสียงคำเป็นของอักษรต่ำที่มี ห นำ เช่น หมอ หนา โหล เหมือน
ตารางแสดงลักษณะบังคับของคำประพันธ์
ลักษณะคำประพันธ์
|
คณะ
|
พยางค์
|
สัมผัส
|
ครุ – ลหุ
|
เอก – โท
|
คำเป็น – คำตาย
|
เสียงวรรณยุกต์
|
คำสร้อย
|
กาพย์
|
ฏ
|
ฏ
|
ฏ
|
–
|
–
|
–
|
ฏ
|
–
|
ฉันท์
|
ฏ
|
ฏ
|
ฏ
|
ฏ
|
–
|
–
|
–
|
–
|
ร่าย
|
ฏ
|
ฏ
|
ฏ
|
–
|
ฏ
|
–
|
–
|
ฏ
|
โคลง
|
ฏ
|
ฏ
|
ฏ
|
–
|
ฏ
|
ฏ
|
–
|
ฏ
|
กลอน
|
ฏ
|
ฏ
|
ฏ
|
–
|
–
|
ฏ
|
ฏ
|
–
|
สุนทรียะของคำประพันธ์ไทย
สุนทรียะ คือ ความนิยมในความงามของคำประพันธ์ อันเป็นเครื่องยังให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ได้แก่ ความสุข ความเบิกบานใจ ความพอใจ และความอิ่มเอิบใจแก่ผู้อ่าน
สุนทรียะของคำประพันธ์ไทย เกิดจากองค์ประกอบ ๓ ประการคือ
๑ สุนทรียรูป คือ ฉันทลักษณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ การเลือกใช้รูปแบบของคำประพันธ์ให้เหมาะสมกับเนื้อหา และอารมณ์ที่ผู้แต่งต้องการสื่อ รวมทั้งความถูกต้องตามแบบแผนของคำประพันธ์ที่ใช้นั้นด้วย
๒ สุนทรียลีลา คือ การบวนการพรรณนาที่เหมาะสม ได้แก่ความงามในด้านกระบวนการพรรณนา ซึ่งมีอยู่ ๔ กระบวน คือ
๑) เสาวรสจนี คือ บทชมโฉม ซึ่งได้แก่กระบวนชมความงาม
๒) นารีปราโมทย์ คือ บทเกี้ยว บทโอ้โลม เป็นรสแห่งความรักใคร่
๓) พิโรธวาทัง คือ กระบวนความตัดพ้อต่อว่า หึงหวง โกรธ ว่ากล่าวประชดประชัน
๔) สัลลาปังคพิไสย คือกระบวนความเศร้าโศก คร่ำครวญ อาลัย อาวรณ์
๓ สุนทรียรส คือ ความงามในด้านอารมณ์สะเทือนใจ อันเกิดจากกระบวนการพรรณนา และกลวิธีในการประพันธ์ที่เหมาะสม มีอยู่ ๙ รส คือ
๑) ศฤงคารรส คือ รสแห่งความรัก
๒) หาสยรส คือ รสแห่งความขบขัน
๓) กรุณารส คือ รสแห่งความเมตตากรุณา
๔) รุทธรส คือ รสแห่งความโกรธเคือง
๕) วีรรส คือ รสแห่งความเพียร หรือความกล้าหาญ
๖) ภยานกรส คือ รสแห่งความกลัว
๗) พีภติรส คือ รสแห่งความชัง ความรังเกียจ
๘) อพภูตรส คือ รสแห่งความพิศวงประหลาดใจ
๙) ศานติรส คือ รสแห่งความสงบ
อลังการของคำประพันธ์ไทย
อลังการของคำประพันธ์ไทย คือ เครื่องตกแต่งให้คำประพันธ์งดงาม อันได้แก่ถ้อยคำที่กวีเลือกใช้นั่นเอง
กลวิธีในการเลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้เกิดอลังการ เรียกว่า “วรรณศิลป์”
อลังการของคำประพันธ์ แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๑ ศัพทาลังการ คือ อลังการด้านเสียงของถ้อยคำ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกและมโนภาพ ตามจินตนาการของกวีผู้อ่าน ซึ่งประกอบด้วย
๑ เสียงสัมผัส ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
๒ เสียงหนักเบาหรือสั้นยาว
๓ การซ้ำคำหรือเล่นอักษร
๔ การเลียนเสียงธรรมชาติ
๕ ระดับของถ้วยคำที่เหมาะสมกับเนื้อความ
๒ อรรถาลังการ ได้แก่ อลังการด้านความหมายอันแจ่มแจ้งของถ้วยคำ และเนื้อความของคำประพันธ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากการใช้ถ้วยคำที่ตรงไปตรงมา การใช้โวหารและการใช้ถ้อยคำที่เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมีส่วนประกอบ ๓ อย่าง ดังนี้
๑ ถ้อยคำ ที่มีความหมายตรงตามศัพท์อย่างตรงไปตรงมา
๒ โวหาร ได้แก่ การใช้ถ้อยคำที่จะเข้าใจความหมายได้ด้วยการตีความ มิใช่อ่านตรงๆ เช่น การกล่าวเปรียบเทียบ เป็นต้น โวหารนั้นจะช่วยให้เกิดรสในการอ่านมากขึ้น
โวหารที่กวีนิยมใช้มีดังนี้
– อุปลักษณ์ (metaphor) เป็นการเปรียบเทียบ โดยเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง คำที่ใช้เปรียบได้แก่ เป็น คือ เท่า เรียกให้เข้าใจง่ายว่า “การเทียบเป็น”
– อุปมา (simile) เป็นการกล่าวเปรียบเทียบ โดยใช้คำเปรียบประเภท เหมือน คล้าย ดุจ ดัง ดุจดัง ประหนึ่ง พ่าง เพียง กล เฉก ราวกับ ฯลฯ อุปมานี้มีชื่อเรียกให้เข้าใจง่ายว่า “การเปรียบเหมือน”
– อธิพจน์ (hyperbole) คือการพูดเกินความจริง
– ปฏิภาคพจน์ (paradox) คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายขัดแย้งกัน
– ปฏิรูปพจน์ (allusion) คือการกล่าวอ้างอิงสิ่งอื่น
– ปฏิปุจฉา (rhetorical question) คือการใช้คำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ
– นามนัย (metonymy) คือการเอ่ยถึงสิ่งหนึ่ง แต่ให้มีความหมายเป็นอย่างอื่น
– บุคคลาธิษฐาน (personifreation) คือการให้สิ่งที่ไม่มีชีวิต แสดงพฤติกรรเหมือนสิ่งมีชีวิต หรือให้อมนุษย์แสดงพฤติกรรมเหมือนมนุษย์
๓ สัญลักษณ์ (symbol) คือการเอาสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แทนที่สิ่งที่เป็นนามธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างลึกซึ่ง โดยไม่ต้องอธิบาย