เรามุ่งมั่นที่จะรวบรวมหลักการประพันธ์ทั้งหลายไว้ ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท นับแต่ครั้งโบราณมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ลูกหลานและผู้ที่สนใจได้ศึกษา และดำรงคงไว้ให้คู่กับชาติไทยสืบไป

กาพย์(ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์)

กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์


กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้

กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก

คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุธาตุ แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง

กาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น

กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ

๑. วางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์

๒. ใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า "คำฉันท์" เหมือนกัน

กาพย์ที่นิยมใช้อยู่ในภาษาไทย มี ๕ ชนิด คือ

๑. กาพย์ยานี
หรือ


๒. กาพย์ฉบัง

๓. กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
 กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒

๔. กาพย์ห่อโคลง

๕. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง
กาพย์ ๓ ชนิดข้างต้น ใช้เทียบเคียง แต่งปนไปกับฉันท์ได้ และเพราะเหตุที่ มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ และแต่งปนไปกับฉันท์ได้ จึงเรียกว่า คำฉันท์ด้วย

๔. กาพย์ห่อโคลง


กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อของบทประพันธ์ ที่แต่งขึ้น โดยใช้กาพย์ยานี สลับกับ โคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี กับ โคลงสี่สุภาพนั้น จะต้องมีความอย่างเดียวกัน คือให้วรรคที่หนึ่ง ของกาพย์ยานี กับบาทที่หนึ่ง ของโคลงสี่สุภาพ บรรยายข้อความ อย่างเดียวกัน หรือบางที ก็ให้คำต้นวรรค ของกาพย์ กับคำต้นบท ของโคลง เป็นคำเหมือนกัน ส่วนบัญญัติ หรือกฎข้อบังคับต่างๆ เหมือนกับ กฎของกาพย์ยานี และโคลงสี่สุภาพ ทั้งสิ้น



ลักษณะการแต่งกาพย์ห่อโคลง แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ



๑.แต่งกาพย์ยานีหนึ่งบท แล้วแต่งโคลงสี่สุภาพ ซึ่งมีเนื้อความเช่นเดียว กับกาพย์ยานี หนึ่งบท สลับกันไป ชนิดนี้ มักแต่งเป็นเรื่องสั้นๆ เป็นเชิงประกวดฝีปาก หรือสำนวน อย่างแต่งโคลงกระทู้ หรือกลอนกลบท



๒.เหมือนชนิดที่ ๑ แต่กลับกันคือเอาโคลงไว้หน้า เอากาพย์ไว้หลังเรียงสลับกันไป



๓.แต่งโคลงบทหนึ่ง แล้วแต่งกาพย์ พรรณาข้อความยืดยาว จนสุดกระแสความ ตามจุใจ จะแต่งกาพย์ ยาวสักกี่บท ก็ได้ แต่ต้องให้บทต้น มีเนื้อความ เช่นเดียวกับโคลง ส่วนบทต่อๆ ไป จะขยายความรำพัน ให้พิศดารอย่างไรก็ได้ ชนิดที่ ๓ นี้ มักนิยมแต่ง เป็นบทเห่เรือ จึงเรียกชื่อ อีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์เห่เรือ